Thai / English

รายงานสัมมนา: “ปัญหาแรงงานสัมพันธ์ในภาคตะวันออก”


บุญยืน สุขใหม่ ประธานคณะทำงานกลุ่มแรงงานบ่อวินสัมพันธ์
16 .. 52
ประชาไท

เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2552 ที่ผ่านมาคณะกรรมาธิการการแรงงานในสภาผู้แทนราษฎร ได้จัดสัมมนา เรื่อง “ปัญหาแรงงานสัมพันธ์ในภาคตะวันออก” ณ โรงแรมโกลเด้น ซิตี้ ระยอง มี ดร.สุเมธ ฤทธาคนี ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงานในสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในการจัดงาน

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับทราบปัญหาดานแรงงานสัมพันธ์ในภาคตะวันออก โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดชลบุรีและระยอง องค์กรที่เข้าร่วมในการสัมมนาประกอบไปด้วย ผู้นำแรงงานในกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก, ชมรมบริหารงานบุคคลในภาคตะวันออก(ชลบุรี-ระยอง) และผู้แทนจากภาครัฐ เช่นประกันสังคมจังหวัด ชลบุรี-ระยอง สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชลบุรี-ระยอง แรงงานจังหวัดชลบุรี-ระยอง และพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดชลบุรี-ระยอง รวมกว่า 150 คน

ตลอดระยะเวลาตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมา ในภาคตะวันออกโดยเฉพาะในสองจังหวัดคือ ชลบุรี และระยอง ได้มีการขยายตัวของอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็คทรอนิคส์ เมื่อมีการจ้างงานมากขึ้นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่พ้นคือปัญหาความขัดแย้งด้านแรงงาน และที่ผ่านมาไม่มีโอกาสในการใช้กลไกทางด้านแรงงานสัมพันธ์ที่ดีบนพื้นฐานของความเข้าใจซึ่งกันและกันตามหลักเกณฑ์ได้ โดยเฉพาะในจังหวัดชลบุรีนั้น เจ้าหน้าที่ของรัฐมักถูกกล่าวหาว่าวางตัวไม่เป็นกลาง ในขณะที่ในจังหวัดระยองนั้น เกิดปัญหา 2 ด้าน คือ

ด้านหนึ่ง มีข้อมูลว่าผู้บริหารงานบุคคลได้รวมตัวกันเป็น “ชมรมบริหารงานบุคคลภาคตะวันออก” มีศูนย์กลางอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด ยึดแนวทางการทำงานตามนโยบายของเจ้าของกิจการซึ่งเป็นชาวต่างชาติอย่างเคร่งครัด คือ ไม่ยอมรับการมีสหภาพแรงงาน โดยถือแนวปฏิบัติว่าที่ใดยังไม่มีสหภาพแรงงานต้องไม่ให้สหภาพแรงงานเกิด หากที่ใดมีสหภาพแรงงานแล้วก็หาวิธีทำลายหรือไม่ให้เติบโตเข้มแข็งได้

ส่วนอีกด้านหนึ่งข้อมูลจาก กลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก มีศูนย์กลางอยู่ที่อำเภอศรีราชา ว่าโดยข้อเท็จจริงแล้ว ชมรมผู้บริหารงานบุคคลภาคตะวันออก ซึ่งเป็น “คนไทย” ต่างหากที่เป็นฝ่ายเสนอนโยบายและแนวทางดังกล่าวให้แก่เจ้าของกิจการ ซึ่งสมาชิกของชมรมบริหารงานบุคคลในทุกโรงงานก็ปฏิบัติแนวทางเดียวกันทั้งสิ้น

นอกจากนั้น ปัญหาแรงงานในภาคตะวันออก ใช้มาตรการทางด้านวินัยและกฎหมายเป็นหลัก ข้อพิพาททางด้านแรงงานจึงเกิดขึ้นมากมาย และไม่สามารถใช้ระบบแรงงานสัมพันธ์ป้องกันและแก้ไขปัญหาได้

ดังนั้น กลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออกจึงได้มีหนังสือร้องเรียนไปยัง๕ระกรรมาธิการการแรงงาน ในสภาผู้แทนราษฎรถึงปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานต่างๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อต้องการให้รัฐบาลได้รับทราบและแก้ไขปัญหาที่มีอยู่เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย คณะกรรมาธิการการแรงงานในสภาผู้แทนราษฎร ได้จัดสัมมนา เรื่อง “ปัญหาแรงงานสัมพันธ์ในภาคตะวันออก” เพื่อให้ทั้งสามฝ่ายได้มานำเสนอปัญหาของตนเองและแนวทางที่แต่ละฝ่ายต้องการให้กับคณะกรรมาธิการการแรงงานในสภาผู้แทนราษฎรได้รับทราบเพื่อนำเสนอต่อรัฐบาลและนำไปสู่การแก้ไขปัญหา ทั้งสามฝ่ายได้นำเสนอประเด็นปัญหาต่อคณะกรรมาธิการการแรงงานในสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้

.

ประเด็นร้องเรียนและแนวทางแก้ไขที่ต้องการของกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก

ต่อคณะกรรมาธิการด้านแรงงานในสภาผู้แทนราษฎร

กรณีที่นายจ้างชาวต่างชาติละเมิดสิทธิมนุษยชน และทำร้ายร่างกายพนักงาน ให้ส่งนายจ้างคนดังกล่าวกลับประเทศและห้ามกลับเข้ามาในประเทศไทยอีก

ส่งกลับประเทศ

แจ้งดำเนินคดีอาญา

ภาครัฐตรวจสอบวีซ่าการเข้าประเทศว่าถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่

จัดอบรมวัฒนธรรมก่อนเข้ามาทำงานในประเทศไทย

ปัญหาการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานตามกฎหมายแรงงานคือ นายจ้างไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๑ (ฉบับที่ ๒) “มาตรา ๑๑/๑” โดยให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ทำงานในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ

ปัญหาการส่งตัวพนักงานกลับต้นสังกัด ห้ามมิให้นำส่งกลับต้นสังกัดโดยไม่มีเหตุผล

กรรมาธิการฯ เป็นผู้แทนในการฟ้องศาลรัฐธรรมนูญให้กำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในการบังคับใช้กฎหมาย

ดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่งกับนายจ้างเหมาค่าแรงโดยเจ้าหน้าที่รัฐกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย

ประเด็นนายจ้างข่มขู่ให้ลูกจ้างเหมาค่าแรงเขียนใบลาออก

ให้เจ้าหน้ารัฐเข้าไปตรวจสอบในสถานประกอบการให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมาย

ให้กรรมาธิการฯ ตรวจสอบการจดทะเบียนนิติบุคคลว่าถูกต้องหรือไม่

เพิ่มโทษคดีอาญา

ยกเลิกกฎหมายเหมาค่าแรง

ให้ภาครัฐกำหนดวงเงินค้ำประกันของบริษัทที่จะเปิดกิจการประเภทเหมาค่าแรง

การบังคับใช้กฎหมายให้เคร่งครัด

ปัญหานายจ้างไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงสภาพการจ้างระหว่างสหภาพแรงงานกับบริษัทฯ

เพิ่มโทษและมีโทษทางอาญา

ให้ระบุผู้ที่ต้องรับผิดทางอาญาให้ชัดเจน

ระหว่างการพิสูจน์สิทธิให้ลูกจ้างทำงานและได้รับค่าจ้างตามปกติ

ให้ลูกจ้างสามารถใช้สิทธิ์นัดหยุดงานได้

ประเด็นนายจ้างหักเงินประกันสังคมแล้วไม่นำจ่ายสำนักงานประกันสังคม

เพิ่มโทษทางอาญา

การบังคับใช้กฎหมายให้เคร่งครัดและกำหนดกรอบเวลาให้ชัดเจน

การบังคับใช้มาตรา ๗๕ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๑ ฉบับที่ ๒ ให้กำหนดหลักเกณฑ์การบังคับใช้ให้ชัดเจน

กำหนดหลักเกณฑ์ให้ชัดเจน และกำหนดว่าใครต้องมาทำงานบ้าง

ควรมีคณะทำงานพิจารณาชี้ขาดในการใช้มาตรา ๗๕ เป็นพหุพาคี

ตั้งองค์กรอิสระตรวจสอบโรงงานที่ใช้มาตรา ๗๕

ในระหว่างยื่นข้อเรียกร้องห้ามมิให้นายจ้างใช้มาตรา ๗๕

ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ๙๕%

ให้จ่ายค่าจ้างเท่ากันทุกคนทั้งพนักงานที่หยุดและที่มาทำงาน

การบังคับใช้กฎหมายให้เคร่งครัดและกำหนดกรอบเวลาให้ชัดเจน

เมื่อมีการเลิกจ้างพนักงานเกิดขึ้นโดยอ้างว่าบริษัทประสบภาวะวิกฤติ ในกรณีที่นายจ้างต้องมีการเลิกจ้างจริงให้นายจ้างทำเป็นหนังสือขออนุญาตไปยังคณะกรรมการของแต่ละพื้นที่พิจารณาเป็นคราวๆ ไปโดยให้แต่งตั้งคณะกรรมการพหุภาคีขึ้นมาตรวจสอบในแต่ละพื้นที่ โดยมีตัวแทนจาก รัฐ นายจ้าง ลูกจ้าง และนักวิชาการ เข้ามาตรวจ สอบข้อเท็จจริงว่าเป็นไปตามที่บริษัทฯ กล่าวอ้างหรือไม่ ถ้าไม่เป็นจริงให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานโดยไม่มีเงื่อนไข และถ้านายจ้างประสบปัญหาจริงรัฐต้องจัดให้ลูกจ้างได้รับสิทธิตามกฎหมายที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิ์ได้รับ

ต้องพิสูจน์ว่าขาดทุนจริงหรือไม่ และควรมีคณะทำงานพิจารณาชี้ขาด

ให้ลูกจ้างสมัครใจในการออกจากงานกรณีเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ

นายจ้างต้องส่งงบการเงินของบริษัททุกปีตามกฎหมายเละให้มีกรรมการเข้าไปตรวจสอบ

สำนักงานประกันสังคมจ่ายเงินทดแทนกรณีว่างงานให้กับลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง ๕๐% ทุกกรณีโดยไม่มีเงื่อนไขเป็นเวลาหนึ่งปี

แก้ไขกฎหมายพระราชบัญญัติประกันสังคม

ให้ผู้แทนลูกจ้างมีส่วนร่วมในการแก้ไขกฎหมาย

ให้ดำเนินคดีกับนายจ้างให้ถึงที่สุดกรณีที่นายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือมีการละเมิดกฎหมายแรงงานโดยเจตนาในกรณีเลิกจ้างสมาชิกสหภาพแรงงานและกรรมการลูกจ้าง

ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด

เพิ่มบทกำหนดโทษให้สูงขึ้น

ระหว่างพิสูจน์สิทธิ์ตามกระบวนการยุติธรรมให้ลูกจ้างได้รับจ้างตามปกติ

ออกเป็นกฎหมายมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่รัฐให้ชัดเจน

การกระทำผิดซึ่งหน้าต่อเจ้าพนักงานตรวจแรงงานให้ดำเนินคดีถึงที่สุด

แก้ไขกฎหมายให้เจ้าพนักงานตรวจแรงงานมีอำนาจดำเนินการกับนายจ้างในกรณีที่กระทำผิดซึ่งหน้า

กรณีถูกกลั่นแกล้งจากนายจ้างฟ้องขอให้ศาลแรงงานคุ้มครองชั่วคราว

กรณีอุบัติเหตุจากการทำงานให้นายจ้างดำเนินการให้ลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์ตามพระราชบัญญัติเงินทดแทนและห้ามเลิกจ้างลูกจ้างที่เจ็บป่วยจากการทำงาน

· องค์กรความปลอดภัยควรตั้งเป็นองค์กรอิสระ

· (ส่วนที่เหลือดำเนินการเช่นเดียวกับข้อ 9)

ประเด็นการกลั่นแกล้งแกนนำสหภาพแรงงานโดยจ่ายค่าจ้างตาปกติแต่ไม่ให้แกนนำสหภาพแรงงานเข้าไปในสถานประกอบการ

· (ดำเนินการเช่นเดียวกับข้อ 9)

ประเด็นการเลิกจ้างสมาชิกสหภาพแรงงานหรือผู้มีรายมือชื่อในการยื่นข้อเรียกร้องและถูกเลิกจ้าง

· การบังคับใช้กฎหมายให้เคร่งครัดและกำหนดกรอบเวลาให้ชัดเจน

คำจำกัดความค่าค่าจ้างในพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ และคุ้มครองแรงงานฯ ต้องเหมือนกัน

ห้ามลดเงินเดือนพนักงานโดยอ้างวิกฤติเศรษฐกิจ

รัฐต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย

ปัญหาการทำงานล่าช้าของภาครัฐและศาลแรงงาน

ความล่าช้าในการพิจารณาคดีของศาลแรงงาน

ความล่าช้าในการตัดสินออกคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์

ความล่าช้าในการตัดสินออกคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน

เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่เพียงพอ

เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่กล้าตัดสินใจว่านายจ้างผิดหรือถูกจ้าง

นายจ้างละเมิดสิทธิ์มนุษยชนโดยการขึ้น Black list ลูกจ้างที่เป็นแกนนำและสมาชิกสหภาพแรงงานและส่งไปตามสถานประกอบการต่างๆ

โครงการเลิกจ้างโดยสมัครใจลาออกควรงดเว้นการเสียภาษี

จัดให้มีการประชุมร่วมกันระหว่างแกนนำกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออกและชมรมบริหารงานบุคคลในแต่ละพื้นที่เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาด้านแรงงานสัมพันธ์ โดยให้มีการประชุมร่วมกันเดือนละครั้ง

ขอสถานที่จัดทำเป็นศูนย์ฝึกอบรมและรับเรื่องร้องทุกข์ของกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออกโดยขอใช้สถานที่ของราชการและรัฐออกเงินสนับสนุน

การตั้งคณะติดตามปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกัน