Thai / English

‘เสียงสะท้อนเนื่องในวันแรงงานข้ามชาติสากล : 18 ธ.ค. 2551’ .. “จากชีวิตระหว่างเส้นสมมติ สู่จุดสิ้นสุดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ถึงเวลาแล้วแรงงานต้องมาก่อน”



18 .. 51
คณะทำงานด้านแรงงานข้ามชาติ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย

หลังจากผ่านพ้นเหตุการณ์ปราบปรามทางการเมืองของรัฐบาลทหารพม่าเมื่อปลายปี 2550 เรื่องราวเศร้าใจก็ตามมารวดเร็วอย่างคิดไม่ถึง ข่าวการเสียชีวิตของคนข้ามชาติจากประเทศพม่า ในขณะที่เดินทางข้ามเส้นสมมติของรัฐเข้ามาทำงานในประเทศไทย เพื่อหาโอกาสใหม่ของชีวิต สร้างทางเลือกที่มองไม่เห็นอนาคตในพม่า 54 ศพต้องสังเวยชีวิตอันเนื่องมาจากการเดินทางในรถตู้คอนเทรนเนอร์

ไม่ กี่วันหลังจากนั้น ผู้ที่รอดชีวิตถูกส่งกลับบ้านเดิมในฐานะผู้หลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย กระบวนการในการเรียกร้องค่าชดเชย ค่าเสียหายก็ยังดำเนินต่อไป ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงภาวการณ์ที่ไม่สามารถสร้างเครือข่ายความปลอดภัยในการ ย้ายถิ่นทั้งของรัฐไทยและรัฐประเทศต้นทาง

หาก ดูจากแรงผลักดันที่เกิดขึ้นอย่างน้อยในช่วงสองปีที่ผ่านมา ชี้ชัดว่าพวกเขา/เธอเหล่านั้นจำเป็นต้องสร้างทางเลือกให้กับชีวิตตนเอง เพื่อหลุดพ้นจากชะตากรรมที่เลวร้าย ท่ามกลางความไม่พร้อม และระบบที่ไม่เอื้อให้เดินทางเข้ามาทำงานได้อย่างถูกกฎหมาย

การ เดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทยโดยไม่ผ่านช่องทางตามข้อกำหนดของรัฐ เป็นเรื่องที่ดำรงอยู่ต่อไป ท้ายที่สุดการเคลื่อนย้ายถิ่นของคนข้ามชาติจากพม่า ก็กลายเป็นคำอธิบายแบบเดิมๆ ที่คำตอบคือต้องหาหนทางป้องกันมิให้เกิดการลักลอบเข้ามาอีก

หลัง จากนั้นอีกไม่นาน เรื่องราวร้ายๆก็ยังตามโถมซัดเข้าหาผู้คนจากอีกฝากฝั่งไม่ลดละ ไซโคลนนาร์กิสได้พรากชีวิตของผู้คนในปากแม่น้ำอิระวดีไปจำนวนมาก การช่วยเหลือเป็นไปอย่างล่าช้า ทั้งๆที่ความช่วยเหลือจำนวนมากพร้อมที่จะเข้าไปเอื้ออำนวยแก่พวกเขา

แต่ อำนาจทางการเมืองกลับครอบคลุมเหนือชีวิต และพรากชีวิตพวกเขา/เธออีกครั้ง รัฐบาลทหารพม่ายืนยันที่จะไม่ยอมให้เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครต่างประเทศเข้า ไปให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย จำนวนผู้เสียชีวิตสูงขึ้นเรื่อยๆ ใครบางคนเรียกสถานการณ์เช่นนี้ว่า อาชญากรรมทางมนุษยธรรมต่อมนุษยชาติภาวะไร้สิ้นอนาคตย่อมผลักดันให้พวกเขา /เธอส่วนหนึ่งต้องเดินทางข้ามเส้นสมมติแห่งรัฐมาอีกครั้ง ดูราวกับมันเป็นวัฏจักรที่ไม่มีวันจบสิ้นเสียที

คำ ว่าสิทธิมนุษยชนสำหรับคนข้ามชาติแล้ว ก็ยังทำหน้าที่เป็นเสมือนเมืองแสนสุขในเรื่องเล่า ที่เราไม่มีวันไปถึง ที่สำคัญเราแทบปฏิเสธไม่ได้ว่า การละเมิดสิทธิมนุษยชนคนข้ามชาติจากพม่านั้น อยู่ภายใต้ภาวะความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่พวกเขา/เธอไม่เคยได้เป็นผู้ใช้อำนาจ สักที

อำนาจ รัฐที่ถูกบีบบังคับให้ต้องยอมรับในประเทศต้นทาง ได้โบยตีพวกเขาครั้งแล้วครั้งเล่า และผลักให้พวกเขาเดินทางข้ามเส้นสมมติแห่งรัฐ เข้ามายังอีกรัฐไทย ภายใต้ข้อจำกัดและข้ออ้างเรื่องของการเข้าเมืองไม่ถูกกฎหมาย ทำให้กระบวนการจ้างแรงงานในประเทศไทยไม่เคยยอมรับว่าพวกเขา/เธอมีศักดิ์ศรี หรือสิทธิแห่งความเป็นมนุษย์เท่าที่พวกเขา/เธอจะต้องมี

ตัวอย่าง ที่เห็นได้ชัด คือ การไม่สามารถเข้าถึงหลักประกันความปลอดภัยในการทำงานของแรงงานข้ามชาติ แม้รัฐไทยจะสร้างกลไกในการลดความเสี่ยงในการได้รับการคุ้มครอง เมื่อแรงงานประสบอุบัติเหตุจากการทำงาน ผ่านกองทุนเงินทดแทน แต่แรงงานข้ามชาติเหล่านี้กลับไม่สามารถเข้าถึงได้ เนื่องจากมีข้อกำหนดที่ปิดกั้นเอาไว้ แม้กระทั่งกระบวนการยุติธรรมที่เป็นความหวังของประชาชน ดังเช่น ศาลปกครอง ก็ไม่สามารถเอื้อมมือเข้ามาคุ้มครองพวกเขา/เธอได้แม้แต่น้อย

อะไรเล่า คือ เกราะคุ้มกันภัยชีวิตของแรงงานข้ามชาติ

ชีวิต ที่ถูกผลักไปมาราวกับตุ๊กตาล้มลุกของคนข้ามชาติ และการไม่ยอมรับในศักดิ์ศรีและสิทธิของเขา/เธอจากรัฐทั้งสอง คือสาเหตุหลักแห่งการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อคนข้ามชาติ

หลาย ครั้งที่การละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้นอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นจากร่างกายแห่งอำนาจ รัฐ แต่เกิดจากผู้คนที่อยู่แวดล้อมพวกเขา/เธอ เกิดจากความไม่ได้รับความยุติธรรมที่ควรจะได้รับ และเลือนหายไปราวกับมันเป็นเพียงเรื่องเล่าที่ผ่านเข้ามาเท่านั้น

หาก จะมองให้ลึกๆแล้ว นั้นอาจจะเป็นเพราะตัวตนของพวกเขา/เธอได้เลือนหายไปภายใต้อำนาจที่กดทับอยู่ ความสัมพันธ์เชิงอำนาจได้บิดเบือน เพิกเฉย ความเป็นมนุษย์ของเขา/เธอให้สูญหายไป และทำให้การละเมิดหรือความรุนแรงต่อพวกเขา/เธอจึงเกิดขึ้นได้ครั้งแล้วครั้ง เล่า และต่อเนื่องตามการเดินทางของเวลาที่ไม่เห็นวันสิ้นสุด จนบางครั้งกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาสามัญ

อีก ด้านหนึ่งวิกฤติเศรษฐกิจที่ก่อตัวขึ้นระดับโลกได้สร้างผลกระทบต่อผู้ใช้แรง งานทั้งระบบ การชะลอตัวทางเศรษฐกิจทำให้กระบวนการจ้างแรงงานเกิดความไม่มั่นคง หลายกิจการเลือกใช้ช่องทางการเลิกจ้าง เพื่อลดความเสี่ยงของผู้ประกอบการ โดยไม่ใส่ใจต่อความเดือดร้อนของผู้ใช้แรงงาน

เมื่อ เกิดภาวการณ์ตกงานของแรงงาน สิ่งหนึ่งที่รัฐทั้งหลายในโลกนี้นิยมทำ คือ การหาแพะรับบาปต่อวิกฤติที่เกิดขึ้น ซึ่งมักจะเป็นแรงงานข้ามชาติที่เข้าไปทำงานในประเทศนั้นๆ

ใน หลายประเทศจะมีนโยบายกีดกัน และผลักดันให้แรงงานข้ามชาติออกจากกระบวนการจ้างงาน เพื่อให้เกิดภาพว่าได้ดำเนินการจัดหางานให้กับแรงงานของตนเองที่ตกงานแล้ว และสร้างภาพให้แรงงานข้ามชาติ เป็นเสมือนภัยคุกคามการมีงานทำของแรงงานในประเทศ ภาวะดังกล่าวยิ่งทำให้แรงงานข้ามชาติถูกเพิกเฉย หรือไม่ได้รับการคุ้มครองจากกลไกที่มีอยู่ เนื่องจากทัศนคติในแง่ลบที่ได้ถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่ต้น

ใน ขณะเดียวกันสังคมก็ได้หลงลืมไปว่า เราได้ละเลยการสร้างความมั่นคงในกระบวนการจ้างงาน และความยั่งยืนของกระบวนการคุ้มครองแรงงานทั้งระบบด้วยเช่นกัน

ภาวะ ความเดือดร้อนของผู้ใช้แรงงานในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ จึงเป็นเรื่องทางเทคนิคที่มีแรงงานข้ามชาติเข้ามาแย่งงานแรงงานไทย โดยไม่ได้ไถ่ถามถึงความรับผิดชอบของผู้ประกอบการที่จ้างแรงงาน ไม่ได้ไถ่ถามถึงนโยบายที่ยั่งยืนในเรื่องการสร้างความมั่นคงของผู้ใช้แรงงาน หลงลืมความล้มเหลวของระบบตาข่ายนิรภัยทางสังคม (Social Safety Net) ที่ไม่ได้ทำหน้าที่รองรับผู้ใช้แรงงานในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจที่ล้มเหลว แต่กลับสร้างภาวะความขัดแย้งในกลุ่มผู้ใช้แรงงานขึ้นมาเพื่อหลีกหนีความรับ ผิดชอบของตนเอง

ดังนั้นในวันแรงงานข้ามชาติสากลปีนี้

เราพบว่า

ใน ห้วงเวลาที่แรงงานข้ามชาติได้เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก แต่การย้ายถิ่นอย่างปลอดภัยยังถูกทิ้งเอาไว้อยู่เบื้องหลัง โดยเฉพาะแรงงานกลุ่มชายขอบที่ขาดอำนาจการต่อรองทางการเมือง การคุ้มครองแรงงาน และสิทธิมนุษยชนได้ถูกทำให้สิ้นสุดลง เพียงเพราะเขา/เธอถูกทำให้เป็นคนอื่นในสังคม ขณะเดียวกันก็กลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ ที่รัฐต่างๆจะหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ ต่อการสร้างความมั่นคงของผู้ใช้แรงงานทั้งหมด

ท่าม กลางวิกฤติเศรษฐกิจที่กำลังคืบคลานเข้ามา ผู้ใช้แรงงานซึ่งเป็นผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกมาโดยตลอด ต้องประกาศร่วมกันว่า แรงงานจะต้องมาก่อน พวกเราไม่ว่าจะเป็นแรงงานจากแห่งหนไหน จะต้องได้รับการคุ้มครองสิทธิและมีคุณภาพชีวิตที่เหมาะสม โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติใดๆทั้งสิ้น

สามัคคีแรงงานทั่วโลก

18 ธันวาคม 2551

วันแรงงานข้ามชาติสากล

ประเทศไทย