Thai / English

เลิก "กะดึก" ประเด็นร้อนฮุนได



17 .. 55
กรุงเทพธุรกิจ

มูน ยองมูน ผู้นำสหภาพแรงงาน วัย 48 ปี เป็นผู้แตะเบรกการเติบโตของ ฮุนได มอเตอร์ โค ในระดับโลก สืบเนื่องจากการเป็นตัวตั้งตัวตีในเรียกร้องให้บริษัทยกเลิกการทำงานกะดึก

การนัดหยุดงานหลายครั้งทำให้ผลผลิตของ ฮุนได ในปีนี้หายไปประมาณ 40,000 คันแล้ว คิดเป็นมูลค่าประมาณ 804,500 ล้านวอน หรือ ประมาณ 24,135 ล้่านบาท

การนัดหยุดงานครั้งล่าสุดจะเกิดขึ้นในวันศุกร์นี้ ( 17 สค. 55) และสหภาพแรงงานวางแผนหยุดงานเพิ่มอีกหา ฮุนได ไม่ยอมตกลงยกเลิกการทำงานกะดึกตั้งแต่กลางปีหน้า และยอมรับข้อเรียกร้องอื่น ๆ เกี่ยวกับค่าจ้างแรงงานและการจ้างงาน

ปัจจุบัน ฮุนได แบ่างการทำงานเป็น 2 กะ กะละ 10 ชั่วโมงสำหรับโรงานในประเทศ แต่ มูน พยายามกดดันให้บริษัทเปลี่ยนชั่วโมงการทำงานเป็นกะละ 8 ชั่วโมง

การประท้าวงที่ยืดเยื้อทั้งที่ ฮุนได และบริษัทลูก เกีย มอเตอร์ คอร์ป จะส่งบผลกระทบต่อยอดขาย เนื่องจากปริมาณสินค้าคงคลังอยู่ที่ระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ ผลจากความต้องการสูงลิ่วช่วงต้นปี

โดยปกติ ผู้ผลิตรถยนต์จะลงบัญชีรายรับเมื่อมีการส่งมอบรถยนต์ไปยังดีลเลอร์ ซึ่งจำนวนรถยนต์ที่น้อลยลง ย่อมหมายถึงรายได้ที่ลดลง

เกีย รายงานเม่อเดือนที่แล้ววว่า สต็อกรถในสหรัฐมีเพียงพอสำหรับการจำหน่าย 25 วัน ส่วนฮุนไดอยู่ที่ 21 วัน เทียบกับ โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ป และฮอนด้า มอเตอร์ โค ที่ 49 วัน ส่วน เชฟโรเลต ของเจนเนอรัล มอเตอร์ส โค อยู่ที่ 66 วัน

ขณะที่ผู้ผลิตรถยนต์รายสำคัญ รวมถึง จีเอ็ม ต่างมีการทำงานในช่วงกลางคืนเช่านเดียวกับผู้ผลิตรถยนต์เกาหลีใต้ แต่ มูน แย้งว่า การทำงานช่วงกลางคืนไม่ดีต่อสุขภาพ การทำงานกลางคืนทำให้คนงานเกิดอาการล้าเรื้อรัง มีความผิดปกติด้านการนอน และระบบการย่อยไม่สมบูรณ์ อีกทั้งในบางกรณียังก่อให้เกิดปัญหาครอบครัวด้วย

สหภาพแรงงานภายใต้การนำของ มูน เสนอให้ ฮุนได ลดเวลาการทำงาน แบ่งการทำงานเป็นกะละ 8 ชั่วโมง และ 9 ชั่วโมง เพิ่มจำนวนคนงานเพื่อรักษาผลผลิต และ เรียกต้องให้บริษัทยอมรับหลักการปี 2548 ให้ยุติการทำงานกลางคืน พร้อมขอเงินเดือนเพิ่ม 151,696 วอน หรือประมาณ 4,550 บาท

มูน ซึ่งได้รับเลือกเป็นผู้นำสหภาพแรงงานเมื่อปีที่แล้ว ด้วยคะแนนเสียง 52% ไม่ใช่คนที่จะถูกขัดขวางได้ง่าย ๆ เขาถูกไล่ออกมาแล้ว 3 ครั้ง และถูกจับ 4 ครั้ง จากการเคลื่อนไหวเพื่อสหภาพแรงงาน นับตั้งแต่ร่วมงานกับ ฮุนได เมือปี 2529 เขามีชื่อเสียงในการหลีกเลี่ยงการต่อรองรายละเอียดระหว่างสหภาพแรงงานและบริษัท รวมทั้งหลีกเลี้ยงการจับมือและยิ้มระหว่างเจรจา

นับถึงเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (14 สค) ฮุนได และสหภาพแรงงาน เจรจากันมาแล้ว 15 รอบ โดยที่ไม่ได้บรรลุข้อตกลงใด ๆ

มูน กล่าวว่า เขาต้องการความเท่าเทียมระหว่างบริษัทและสหภาพแรงงาน ซึ่งเป็นสิ่งที่หายไปในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา

ฮุนได และเกีย ถือเป็นผุ้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อันดับ 5 ของโลกเมื่อวัดจากยอดขาย และเป็นหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมชั้นนำของเกาหลีใ้ต้ ฮุนได เรียกร้องให้สหภาพแรงงานตระหนักว่า บริษัทกำลังเผชิญกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ไม่อาจคาดเดาได้ในช่วงครึ่งปีหลัง

โฆษก ฮุนได กล่าวว่า บริษัทเผชิญปัญหาอยู่แล้วจากความสามรถในการทำกำไรลดลง และการแข่งขันรุนแรงขึ้นกับคู่แข่งรายสำคัญ อย่าง โตโยต้า และโฟล์คสวสเก้น ในตลาดสหรัฐและยุโรป บริษัททำไ้ดีกว่าคูแข่างในช่วงครึ่งปีแรก แต่สถานการณืจะเปลี่ยนไปหากสหภาพแรงงานยังยึดจุดยืนเดิม

ทั้งนี้ ผลกำไรที่เพิ่มขึ้น และส่วนแบ่งการตลาดที่เพิ่มขึ้นในสหรัฐและยุโรป ทำให้สหภาพแรงงานมีอำนาจในการเจรจาต่อรองมากเป็นพิเศษ

ข้อมูลจาก ออโตดาตา คอร์ป ระบุว่า มีส่วนแบ่งในตลาดสหรัฐ 5.4% เมื่อเดือนที่แล้วเพิ่มขึ้น 3% จากปลายปี 2551 ส่วนในยุโรป ส่วนแบ่งตลาดของ ฮุนได เพิ่มเป็น 2.6% จาก 1.7% เมื่อปี 2550