Thai / English

คนไร้บ้านเล่าประสบการณ์ชีวิต หวังเปลี่ยนมุมมองนักศึกษา

นักศึกษาทึ้งประสบการณ์ชีวิตคนไร้บ้าน หลังได้เรียนรู้จากชีวิตจริง เปลี่ยนมุมมองงานสงเคราะห์ หลังเห็นศักยภาพการรวมกลุ่ม เพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัย

24 .. 57
http://voicelabour.org

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2557 คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย และเครือข่ายคนไร้บ้าน มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย นำนักศึกษาเข้าเรียนรู้แลกเปลี่ยนวิถีชีวิตคนไร้บ้าน ที่ศูนย์พักคนไร้บ้าน สุวิทย์ วัดหนู ตั้งอยู่ที่บางกอนน้อย กรุงเทพ ฯโดยมีการเล่าเพลงบรรเลงประวัติศาสตร์ จากวงดนตรีภราดร เพื่อเล่าถึงวิถีชีวิต ประวัติศาสตร์ความเป็นแรงงานผ่านบทเพลง

จากนั้นนาย ธเนศ จรโณทัย ตัวแทนคนไร้บ้านได้เล่าถึงความเป็นคนไร้บ้านว่า คนไร้บ้านอาจเป็นกลุ่มคนที่ตกงาน มาหางานทำ ไม่มีที่อยู่อาศัย และอาจเป็นคนที่ไร้สถานะ ไม่มีบัตรประชาชน คนไร้บ้านจะอยู่ในพื้นที่สาธารณะ เช่น ในสวนสาธารณะ ใต้สะพาน ป้ายรถเมลย์ ฯลฯ คนไร้บ้านมีทั้งผู้สูงอายุ เด็ก คนป่วย คนติดสุรา มีทั้งผู้หญิงผู้ชายและเพศทางเลือก อาชีพคนไร้บ้าน คือ เก็บ หรือหาของเก่า ของรีไซร์เคิลขาย งานรับจ้างทั่วไปด้วยคนไร้บ้านส่วนใหญ่ไม่มีบัตรทำให้เขาต้องเป็นแรงงานราคาถูก หรือถูกหลอกง่าย และเกิดอาชีพใหม่ในคนไร้บ้านคือรับจ้างติดคุก และคนไร้บ้านยังเป็นเหยื่อถูกพวกค้ามนุษย์พาไปขายลงเรือ หรือถูกโกงค่าแรง ซึ่งคนไร้บ้านก็ไม่กล้าแจ้งตำรวจ เพราะไม่มีบัตร ตำรวจก็จะจับหาว่าไม่ใช่คนไทย

ไม่มีบัตรไม่มีสิทธิ เมื่อคนไร้บ้านไม่มีบัตรทำให้ขาดสิทธิขั้นพื้นฐานที่รัฐจัดให้ เช่นสิทธิในการรักษาพยาบาลในหลักประกันสัขภาพ (สปสช)เบี้ยผู้สูงอายุฯลฯในความเป็นพลเมืองไทย

คนสกปรกคือผู้ร้าย คนมักมองคนดีที่หน้าตา และการแต่งตัว ซึ่งเวลาเกิดการลักขโมยข้าวของในร้านสะดวกซื้อคนที่ถูกตำรวจจับ คือคนไร้บ้านเนื้อตัวมอมแมมที่นั่งๆนอนๆอยู่แถวนั้น คนไร้บ้านกลายเป็นแพะ การจับยาเสพติดคนไร้บ้านก็โดนจับ ความสกปรกมอมแมมมีที่มาเพื่อการป้องกันตัวเอง เพราะคนไร้บ้านเองก็รู้สึกถึงความไม่ปลอดภัยจากภัยรอบข้าง เช่นผู้หญิงนอนตอนกลางคืนอาจมีคนมานอนข้างด้วย

ชีวิตใหม่ของคนไร้บ้าน เมื่อมีการรวมกลุ่ม เมื่อมูลนิธิฯและอาสาสมัครลงพื้นที่จัดกิจกรรม ฉายหนังกลางแปลง เดินกาแฟพูดคุย เพื่อสร้างการรวมกลุ่ม เมื่อมีการประกาศปิดสนามหลวงของผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ นายสมัครสุนทรเวช คนไร้บ้านได้รวมกลุ่มไปต่อรองเรื่องที่พักอาศัย เป็นศูนย์พักพิงเกิดขึ้นปัจจุบันมีอยู่หลายแห่งโดยต่อรองเช่าพื้นที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท)ช่วงแรกรฟท.คิดค่าเช่าเหมือนพานิชย์ทั่วไปแต่คนไร้บ้านไม่มีเงินติดหนี้ราว 4แสนบาท ต่อมาต่อรองลดลงเหลือตารางวาละ 20 บาท หลังจากมีบ้านทำให้คนไร้บ้านมีโอกาสที่จะมีบัตรประจำตัว แต่ก็ต้องผ่านการพิสูจน์ ตรวจสอบ และเด็กลูกคนไร้บ้านได้มสิทธิเรียนหนังสือ ได้สิทธิขั้นพื้นฐานความเป็นพลเมืองไทย ขณะนี้มีกลุ่มสหกรณ์ร้านค้า แปลงเกษตร มีกลุ่มซาเล้งรับซื้อของเก่ามารีไซเคิลและรวมกลุ่มช่างเพื่อรับเหมาก่อสร้าง มีที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัยคุณภาพชีวิตดีขึ้นมาก ตอนนี้ยังมีการพยายามสร้างบ้านมั่นคงให้กันคนไร้บ้าน ซึ่งมีการสร้างบ้านด้วยดิน ตามแรงจองคนไร้ย้านที่ร่วมกันสร้าง โดยมีสถาปนิกมาช่วนออกแบบ ซึ่งจะสร้างที่เชียงใหม่ ขอนแก่นด้วย

นางสาวศุภนิดา อิศราพรไพฑรูย์ นักศึกษาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กล่าวว่า จากการที่ยังไม่รู้จักคนไร้บ้านลึกซึ้งขนาดนี้ เราก็มองแบบคนทั่วไปว่าทำไมเขาถึงได้ออกมาอยู่แบบนี้ มาใช้ชีวิตลำบากขนาดนี้ เขามีปัญหาอะไรหรือเปล่า พอหลังจากที่ได้เรียนรู้เบื้องหลังมา เขาก็คือพี่น้องเรานี่แหละ เขามีศักดิ์ความเป็นมนุษย์เท่ากันเขาก็คือคนธรรมดาเหมือนเราพอมาศึกษาก็ได้รู้ว่าคนเรานะค่ะก็มีคุณค่าความเป็นคนเหมือนกันก็ควรที่จะให้โอกาสเขาพอมาเรียนรู้ตรงนี้นะคะถ้าเมืองไทยคนผู้ใหญ่เราให้โอกาสเขาได้เข้าถึงสิทธิ์ด้านการศึกษาเขาก็จะสามารถที่จะพัฒนาตัวต่อไปได้ไม่จำเป็นที่จะต้องคอยรับความช่วยเหลื่อตลาดเวลาเป็นคนที่ถูกมองว่าไร้ค่าค่ะถ้าเขาได้รับโอกาสตรงนี้นะคะหนูคิดว่ามันเป็นประเด็นสำคัญจะทำให้เขาพัฒนาตัวเองและเป็นบุคคลากรที่ดีของประเทศได้เหมือนกันจากที่ได้วันนี้

นางสาวศุภิสรา จงสงวน นักศึกษาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การรวมกลุ่มของคนไร้บ้านจะทำให้การทำงานในอนาคตเรื่องการขึ้นทะเบียนหรือว่าให้เขาเป็นบุคคลถูกกฎหมายมีประโยชน์มากขึ้นจากการรวมกลุ่มเพราะส่วนใหญ่ปัญหาของคนไร้บ้านคือการขึ้นทะเบียนในอนาคตก็จะมีนโยบายหรือการเอื้อประโยชน์ให้กับคนกับไร้สถานะหรือคนที่ไม่มีบัตรประชาชนได้มากขึ้น

นักสื่อสารเครือข่ายคนไร้บ้าน รายงาน