Thai / English

ลูกจ้างโอดค่าแรงขึ้นราคาสินค้าพุ่ง

แรงงานแจงกมธ. จี้รัฐบาลเยียวยาผลกระทบขึ้นค่าแรง 300 คุมค่าครองชีพหลังพุ่งสูงกว่า 32% แนะตั้งกองทุนเยียวช่วยถูกเลิกจ้าง

31 .. 56
โพสต์ทูเดย์

เมื่อวันที่ 30 ม.ค. ที่ประชุมคณะกรรมาธิการการ (กมธ.) แรงงาน สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีนายนิทัศน์ ศรีนนท์ สส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย เป็นประธาน พิจารณามาตรการช่วยเหลือเยียวยาสถานประกอบการและกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ซึ่งได้รับผลกระทบการปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเป็น 300 บาท โดยเชิญนายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันแรงงานไทย (คสรท.)มาชี้แจง

นายมนัส กล่าวว่า การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น300 บาท สร้างความพอใจให้กับแรงงาน แต่ขณะเดียวกันก็สร้างผลกระทบต่อผู้ประกอบการ ​ทั้งเรื่องการปิดตัวของโรงงาน แต่ไม่ใช่ผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงเพียงอย่างเดียว แต่มาจากผลกระทบจากน้ำท่วมเมื่อปี 2554 ไปจนถึงการไม่มีคำสั่งซื้อด้วย ​นอกจากนี้ยังส่งผลกระบต่อ ให้เกิดแรงงานจากต่างด้าวโดยเฉพาะ กัมพูชา พม่า ลาวทะลักเข้ามาในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ซึ่งอยากเรียกร้องให้รัฐบาลมีมาตรการป้องกันไม่ให้แรงงานต่างด้าวทะลักเข้ามาในประเทศ

นอกจากนี้ ยังบางโรงงานใช้วิธี ลดค่ากะ ลดเบี้ยเลี้ยง เพื่อนำไปนับรวมเป็นค่าแรง 300 บาท ​ดังนั้นจึงอยากให้รัฐบาลควบคุมราคาสินค้าไม่ให้เพิ่มสูงขึ้น

นายชาลี กล่าวว่า ​ที่ผ่านมาในปี 2554 เคยทำการการสำรวจค่าใช้จ่ายของแรงงานเฉลี่ยจะอยู่คนละ ​ 348 บาท ซึ่งการขึ้นค่าแรง 300 บาท แม้จะดีขึ้นแต่ก็ยังไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่แท้จริง โดยเฉพาะระยะหลังที่ค่าครองชีพสูงขึ้นมาก จนผลสำรวจล่าสุดพบว่าค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของแรงานอยู่ที่ 421 บาท หรือเพิ่มสูงขึ้น 32 % ถามว่าพอใจไหมก็ต้องบอกว่าพอใจ แต่ก็ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นด้วย โดยจะเห็นว่า 10 ปีที่ผ่านมาค่าแรงจะขึ้นเพียงปีละ 2.5 % น้อยกว่าเงินเฟ้อที่​ขึ้นสูงถึงปีละ 2.75 % จึงอยากให้รัฐบาลช่วยควบคุมดูแลราคาสินค้าโดยเฉพาะตัวแปรสำคัญคือค่าแก๊สหุงต้ม และน้ำมันที่กระทบต่อราคาสินค้าอื่นๆ ไม่เช่นนั้นแม้จะขึ้นค่าแรงแต่ราคาสินค้า

ทั้งนี้การขึ้นค่าแรงมีทั้งผลบวกและผลลบ ซึ่งหลังจากขึ้นค่าแรกล็อตแรก 7 จังหวัด ทำให้คนตกงานเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.5% เป็น 0.6 % เพราะส่วนใหญ่เป็นจังหวัดที่มีบริษัทขนาดใหญ่ แต่ก็มีเรื่องร้องเรียนเข้ามายังคณะกรรมการสมานฉันแรงงานไทย 83 เรื่องซึ่งส่วนเใหญ่เป็นเรื่องนำสวัสดิการ ค่าอาหาร ค่ารถนำมาคำนวณเป็นค่าแรงใน300 บาท และบางโรงงานก็ไม่ขึ้นค่าแรงตามที่กำหนด โดยข่มขู่ลูกจ้างไม่ให้ไปฟ้องร้องไม่เช่นนั้นจะถูกปลดออกจากงาน ดังนั้นจึงอยากให้ไปสำรวจทุกบริษัทกว่า 4 แสนแห่งทั่วประเทศว่าขึ้นค่าแรง300 บาท จริงหรือไม่

นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องลูกจ้างเข้าใหม่ 1 เดือนได้ค่าแรงเท่ากับ ลูกจ้างที่อยู่มาแล้ว 7-8 ปี บางทีคนเป็นหัวหน้าได้เงินน้อยกว่าหรือเท่ากับลูกจ้างเข้าใหม่ ที่สร้างปัญหาในการบริหารงาน ​หรือมีช่องว่าเรื่องพนักงานที่เป็นซับคอนแทคท์ หรือ เหมาช่วงเหมาค่าแรง ซึ่งจะไม่ได้รับการปรับขึ้นค่าแรงในส่วนนี้ด้วย ในขณะที่โรงงานซึ่งปิดตัว บางครั้งก็ไม่ได้จ่ายค่าชดเชยให้ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งอยากเรียกร้องให้กระทรวงแรงงานตั้งกองทุนขึ้นมา จ่ายเงินชดเชยให้กับแรงงานที่ไม่ได้รับค่าชดเชยก่อน หลังจากนั้นเมื่อทางโรงงงานจ่ายเงินมาแล้วก็นำไปใช้คืนกองทุน เพื่อบรรเทาความเดือนร้อนของแรงงงาน