Thai / English

กลุ่มแรงงานข้ามชาติ “ร้อง” ผู้ว่าชม.ให้การคุ้มครองตามกฎหมาย

กลุ่มแรงงานข้ามชาติในเชียงใหม่ พบผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่(ชม.) เพื่อเรียกร้องให้มีการเร่งรัดการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติมากขึ้น

04 .. 54
http://voicelabour.org/?p=3012

วันนี้ เวลา 14.00 น. กลุ่มแรงงานข้ามชาติประมาณ 15 คนจากกลุ่มสหพันธ์คนงานข้ามชาติ (MWF)และกลุ่มแรงงานสามัคคี (WSA) ได้เข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ โดยผู้ว่าฯ มอบหมายให้นางนฤมล ปาลวัฒน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พบแทน เพื่อให้เร่งรัดการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติมากขึ้น

โดยนายดี คำเฮือง ประธานสหพันธ์คนงานข้ามชาติ กล่าวว่า “ สหพันธ์คนงานข้ามชาติเป็นการรวมตัวกันของแรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่าใน พื้นที่เชียงใหม่ ส่วนใหญ่เป็นชาวไทใหญ่ เพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน และช่วยเหลือพี่น้องข้ามชาติด้วยกัน โดยเฉพาะในประเด็นการคุ้มครองแรงงาน นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่น ๆ อีก ที่ส่งเสริม เช่นกิจกรรมทางวัฒนธรรม การให้การศึกษาด้านกฏหมาย สิทธิกับสมาชิก ปัจจุบัน มีสมาชิกกว่า 300 คน และที่มายื่นในวันนี้นั้น ต้องการให้ทางผู้ว่าฯ ช่วยเหลือ และเข้มงวดให้มีการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติมากขึ้น เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วแรงงานข้ามชาติที่ที่ทำงานยังไม่ได้รับการคุ้มครองแรง งานตาม พ.ร.บ. การคุ้มครองแรงงาน และถูกละเลยจากการคุ้มครองนี้เป็นจำนวนมาก เช่น ไม่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ ไม่ได้รับค่าล่วงเวลา ไม่ได้รับค่าทำงานในวันหยุด นอกจากนี้แรงงานข้ามชาติที่ผ่านพิสูจน์สัญชาติแล้ว ยังไม่ได้รับการเข้าสู่ระบบประกันสังคม แต่อย่างใด ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ รัฐบาลได้มีนโยบายให้พิสูจน์สัญชาติ เพื่อเปลี่ยนสถานะแรงงานผิดกฏหมายให้เป็นแรงงานถูกกฏหมาย และจะได้รับการคุ้มครองแรงงานอย่างมีมาตราฐาน และสามารถเข้าสู่ระบบประกันสังคมได้ (หากเป็นแรงงานผิดกฏหมายจะไม่สามารถเข้าสู่ระบบประกันสังคมได้) ซึ่งสถานประกอบการส่วนใหญ่ละเลยการนำลูกจ้างแรงงานข้ามชาติเข้าสู่ระบบ ประกันสังคม จึงอยากให้ท่านรองผู้ว่าฯ ช่วยเหลือในประเด็นนี้

ขณะที่ นายพรศักดิ์ หมื่นตา ประธานกลุ่มแรงงานสามัคคี ซึ่งเป็นแรงงานข้ามชาติอีกกลุ่มหนึ่งที่มีการรวมตัวกัน ได้กล่าวข้อเสนอแนะของแรงงานทั้งสองกลุ่ม คือ

1.ขอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องการ คุ้มครองแรงงานได้มีการตรวจสอบและมีคำสั่งให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายคุ้ม ครองแรงงานอย่างเคร่งครัด เช่น ต้องจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำให้กับลูกจ้าง จัดสวัสดิการให้กับลูกจ้าง ตามที่กฎหมายกำหนด

2.ขอให้หน่วยงานหรือสำนักงานประกันสังคม จ.เชียงใหม่ ตรวจสอบการนำลูกจ้างที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติแล้วเข้าสู่ระบบประกันสังคมอ ย่างเคร่งครัด เพื่อการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ของลูกจ้างต่อไป

3.ขอให้หน่วยงานหรือสำนักงานประกันสังคม จ.เชียงใหม่ จัดสรรงบประมาณเพื่อการให้การศึกษาเรื่องประกันสังคม กับผู้ประกันตนที่เป็นแรงงานข้ามชาติอย่างเท่าเทียมและไม่เลือกปฏิบัติ

และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการช่วยเหลือจากการปรึกษาหารือครั้งนี้ และขอขอบคุณที่ให้โอกาสได้มาพูดปัญหาของแรงงานข้ามชาติในวันนี้

ท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นางนฤมล ปาลวัฒน์ ได้ตอบรับข้อเสนอแนะ ซึ่ง

ข้อที่ 1 ได้ให้สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน รับผิดชอบ โดยรับปากจะเร่งรัดการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติให้มากขึ้น รวมถึงให้แรงงานข้ามชาติแจ้งไปยังสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานหาก พบกรณีนายจ้างละเมิด

ข้อที่ 2 ได้มอบให้สำนักงานประกันสังคม รับผิดชอบ และสำนักงานประกันสังคมยืนยันว่าแรงงานข้ามชาติที่ผ่านพิสูจน์สัญชาติสามารถ เข้าระบบประกันสังคมตามกฏหมาย แต่ในกรณีที่นายจ้างไม่ไปขึ้นทะเบียนนั้น จะเร่งรัดให้มากขึ้น โดยขอให้แรงงานข้ามชาติให้ความร่วมมือ กรณีถ้าโดนหักเงินเดือนสามารถแจ้งกับสำนักงานประกันสังคมเพื่อให้ตรวจสอบได้

ข้อที่ 3 ได้มอบหมายให้สำนักงานประกันสังคม รับผิดชอบ สำนักงานประกันสังคมได้ชี้แจงถึงกรณีการให้ความรู้ โดยเสนอโครงการประเด็นให้ความรู้กับแรงงานข้ามชาต ภายในหน่วยงานต่อไป นอกจากนี้หน่วยงานอื่น ๆ พร้อมต้องการให้ความรู้กับแรงงานข้ามชาติในทุกประเด็น และสามารถแจ้งกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอให้มาให้ความรู้กับแรงงานข้ามชาติต่อไป

อย่างไรก็ตาม รองผู้ว่าฯ สนใจประเด็นเอกสารให้ความรู้ของหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งอาจต้องแปลเป็นภาษาไทใหญ่เพิ่มอีกภาษาเพื่อให้สามารถเข้าถึงแรงงานข้าม ชาติ ชาวไทใหญ่ด้วย เรื่องนี้อาจหารือกับกระทรวงแรงงานต่อไป