Thai / English

จับตาค่าจ้างขั้นต่ำเข้าที่ประชุม ครม.วันนี้ แรงงานฉุน รง.ขู่ปิดกิจการ

รมว.แรงงาน เตรียมชงค่าจ้างขั้นต่ำ 8-17 บาท เข้าที่ประชุม ครม. วันนี้ เพื่อให้ทันเป็นของขวัญวันปีใหม่ เพราะอยากให้สิ่งดีๆ เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงาน โดยเฉพาะระดับรากหญ้า มั่นใจตอบได้ทุกคำถาม ย้ำชัด รบ. พร้อมเข้าดูแลปัญหาเงินเฟ้อ ไม่เชื่อจะมีสถานประกอบการต้องป

14 .. 53
ผู้จัดการ

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ออกมาคัดค้านการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ตามที่คณะกรรมการค่าจ้างกลาง มีมติให้ปรับขึ้นวันละ 8-17 บาท โดยระบุว่า มติของคณะกรรมการค่าจ้างกลางที่ออกมา ยึดหลักของการให้ความสำคัญของทุกฝ่าย ทั้งนายจ้างและลูกจ้าง ซึ่งก่อนหน้านี้มีข่าวมาโดยตลอด ทั้งการขอปรับค่าจ้างเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 421 บาท ตามที่คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เสนอ หรือการประกาศให้เพิ่มเป็นวันละ 250 บาท ตามที่นายกรัฐมนตรี ได้เคยพูดเอาไว้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว คงไม่สามารถปรับได้สูงขนาดนั้น

ทั้งนี้ ตัวเลขค่าจ้างขั้นต่ำที่คณะอนุกรรมการระดับจังหวัดเสนอขึ้นมา รมว.แรงงาน เห็นว่า เป็นการปรับน้อยกว่าสภาวะปัจจุบันจึงให้คณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรอง ค่าจ้างพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง โดยให้อยู่ในจุดที่ผู้ประกอบการสามารถอยู่ได้

ส่วนประเด็นที่มติของคณะกรรมการค่าจ้างกลางปรับค่าจ้างเพิ่มขึ้นเป็น 8-17 บาทนั้น ตนเองไม่อยากให้เอาตัวเลข 17 บาท มาเป็นตัวตั้งแล้ววิพากษ์วิจารณ์กัน เพราะการเพิ่ม 17 บาท มีเพียงแค่ 1 จังหวัด คือภูเก็ต ซึ่งถือว่าเป็นจังหวัดท่องเที่ยวอันดับหนึ่งของประเทศ โดยต้องยอมรับว่า จ.ภูเก็ต มีค่าครองชีพที่สูงมากกว่าที่อื่น ดังนั้น ควรเอาความจริงและเหตุผลมาคุยกันดีกว่า เพราะไม่มีใครสามารถทำตามความต้องการสูงสุดของแต่ละฝ่ายได้

รมว.แรงงาน ยืนยันว่า ตนเองจะนำเรื่องการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันนี้ พร้อมบอกว่า ทุกอย่างยังดำเนินไปตามขั้นตอน ซึ่งการพิจารณาในปีนี้ ถือว่าล่าช้ามามากแล้ว แต่ยืนยันว่าจะให้ทันเป็นของขวัญวันปีใหม่ เพราะอยากให้สิ่งดีๆ เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงาน โดยเฉพาะแรงงานระดับล่าง ทั้งนี้ หากมองอีกมุมหนึ่ง เมื่อลูกจ้างได้ค่าจ้างที่เพิ่มสูงขึ้น นายจ้างก็น่าจะใช้โอกาสนี้ในการพัฒนาให้มีผลิตภาพและผลิตผลสูงขึ้น

รมว.แรงงาน ยังมั่นใจว่า ตนเองจะตอบคำถามของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ซึ่งได้ประกาศให้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 250 บาท ได้อย่างแน่นอน เพราะก่อนหน้านี้ ตนเองได้เคยหารือกับนายอภิสิทธิ์แล้ว ซึ่งได้บอกไปว่า จะทำให้ดีที่สุดภายใต้เงื่อนไขต่างๆ ทางสังคม

ส่วนกรณีที่นายจ้างบอกว่า การปรับค่าจ้างครั้งนี้ อาจทำให้ล้มทั้งยืน และต้องเลิกจ้างลูกจ้าง รมว.แรงงาน ไม่เชื่อว่าจะมีสถานประกอบการต้องปิดกิจการจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เพียงแค่นี้ เพราะก่อนหน้านี้ สถานประกอบการจำนวนมากได้จ่ายค่าจ้างเกินอัตราค่าจ้างขั้นต่ำอยู่แล้ว ดังนั้น จึงอยากท้าว่า หากสถานประกอบการใดบอกว่าจะต้องปิดตัว เพราะการปรับขึ้นค่าจ้างครั้งนี้ ตนก็จะขอให้เปิดงบบัญชีย้อนหลังของบริษัท เพื่อพิสูจน์ว่า อยู่ไม่ได้จริงหรือไม่

โดยก่อนหน้านี้ นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้ออกมาระบุว่า ที่ประชุมกรรมการบริหาร ส.อ.ท. มีมติ 3 ประเด็นเรื่องการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ดังนี้ 1.ให้ทำหนังสือ ส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอให้ชี้แจงถึงเหตุผลในการปรับค่าจ้าง ที่แตกต่างกันระ หว่างมติของคณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้น ต่ำจังหวัด และคณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรอง เนื่องจากอัตราที่เสนอไปและอัตราที่อนุมัติมีความแตกต่างกันมาก

2.ควรให้การกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามวิธีเดิม โดยใช้หลักเกณฑ์หรือข้อเสนออัตราค่าจ้างขั้นต่ำของคณะอนุกรรมการไตรภาคีโดย ไม่ผ่านคณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรอง และ 3.ให้รัฐบาลดูแลสวัสดิการ ความเป็นอยู่ของแรง งานมากขึ้น รวมถึงกลุ่มเอสเอ็มอีที่มีการใช้แรง งานมาก

นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ รองประธาน ส.อ.ท.สายแรงงาน กล่าวว่า ภาคเอกชนต้องการให้รัฐบาลทบทวนการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ และชี้ แจงเหตุผลการปรับขึ้นค่าแรงในระดับสูง เนื่องจากกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) จะได้รับผลกระทบค่อนข้างมากและไม่สามารถรับค่าแรงในระดับนี้ได้ ส่งผลให้ทาง ส.อ.ท.จังหวัด หลายแห่งแจ้งเข้ามาว่าหากรัฐบาลไม่พิจารณาเรื่องดังกล่าวใหม่ ซึ่งอาจจะต้องเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตจากเครื่องจักร และลดคนงานออกบางส่วน 10-15% จากแรงงานที่อยู่ในระบบ 5 ล้านคน หรือประมาณ 5-7.5 แสนคน จึงต้องการให้ส่งหนังสือถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้ชี้แจงการปรับขึ้นค่าแรงงาน

รองประธาน ส.อ.ท.สายแรงงาน กล่าวเสริมว่า ตนเองเคยเสนอให้ ส.อ.ท.เข้าไปมีส่วนร่วมในคณะกรรมการไตรภาคี เนื่องจากเป็นกลุ่ม ที่มีการใช้แรงงานมาก แต่สุดท้ายก็ไม่มีกรรม การของ ส.อ.ท.เข้าไปอยู่ ทำให้ไม่มีโอกาสที่จะเข้าไปแสดงความเห็นในคณะกรรมการไตรภาคี