Thai / English

ขวาง3จีทีโอที

ทีโอทีสะดุดขาตัวเอง สหภาพแรงงานฯ ไม่รับแผนลงทุน 3จี ที่ ครม.อนุมัติ หวั่นหนี้เพิ่ม 2 หมื่นล้าน

30 .. 53
โพสต์ทูเดย์

หลังจาก ครม.มีมติให้บริษัท ทีโอที ขยายโครงข่าย 3จี ในวงเงิน 1.9 หมื่นล้านบาทไปแล้ว แต่ปรากฏว่าสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ และพนักงานส่วนใหญ่ของบริษัท ทีโอที ไม่เห็นด้วยกับแผนการลงทุนดังกล่าว เพราะไม่ต้องการให้ทีโอทีต้องเป็นหนี้ในวงเงินดังกล่าว

ทั้งนี้ เนื่องจาก

รายงานข่าวจากบริษัท ทีโอที เปิดเผยว่า ขณะนี้กำลังเกิดปัญหาขึ้นภายใน บริษัท ทีโอที หลังจากครม.อนุมัติให้ลงทุนโครงข่าย 3 จีทั่วประเทศวงเงินเกือบ 2 หมื่นล้านบาท เนื่องจากพนักงานส่วนใหญ่ไม่ต้องการให้องค์กรเป็นหนี้ในวงเงินดังกล่าว

เนื่องจากรูปแบบการประมูลที่ ครม.อนุมัตินั้นได้ระบุว่าให้ใช้แหล่งเงินกู้ในประเทศแทนแหล่งเงินกู้ต่าง ประเทศ ทำให้ทีโอทีต้องกู้เงินเองแล้วให้เอกชนเข้ามาลงทุนติดตั้งโครงข่าย แต่หากใช้แหล่งเงินกู้จากต่างประเทศ ผู้ที่ติดตั้งโครงข่าย หรือซัพพลายเออร์ จะเป็นผู้นำเสนอเงื่อนไขที่ดีที่สุดต่อทีโอที โดยซัพพลายเออร์จะลงทุนให้ก่อนแล้วทีโอทีจ่ายเงินทีหลัง ซึ่งส่งผลดีต่อทีโอทีมากกว่า

นอกจากนี้ ทีโอทียังมีแผนจ้างบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินเพื่อมาหาแหล่งเงินกู้อีก ซึ่งเป็นเรื่องไม่จำเป็น เพราะก่อนหน้าที่ทีโอทีเสนอแผนให้ ครม.อนุมัติ ต้องมีรายละเอียดเรื่องนี้ชัดเจนอยู่แล้ว

เมื่อช่วงเช้าวันที่ 29 ก.ย. ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการร่วม สส. สว. เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พ.ศ. .... หลังจากสภาผู้แทนราษฎรไม่รับร่างแก้ พ.ร.บ.กสทช.ฉบับวุฒิสภา ด้วยมติ 296 ต่อ 0 เสียง

เนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรเห็นว่าวุฒิสภาเพิ่มจำนวนกรรมการ กสทช. จาก 11 คน เป็น 15 คน และปรับอายุของกรรมการ กสทช. ฯลฯ นั้นอาจทำให้เกิดปัญหาในอนาคต

สำหรับขั้นตอนต่อไปคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ในการพิจารณาร่างดังกล่าว ซึ่งคาดว่าสุดท้ายสภาผู้แทนราษฎรจะยืนยันร่างเดิมที่ผ่านสภาไปก่อนหน้านี้

นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ รองประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ หนึ่งในคณะกรรมาธิการร่วมฯ เปิดเผยว่า กรรมาธิการร่วมฯ จะต้องเร่งหาข้อสรุปเพื่อประกาศใช้ร่าง พ.ร.บ.กสทช. ให้ทันก่อนปิดสมัยประชุมสภาในเดือน พ.ย.นี้ โดยต้องยึดผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก ไม่เช่นนั้นการพัฒนาในภาคโทรคมนาคม และวิทยุโทรทัศน์ก็จะล่าช้าไปอีก

สิ่งที่กรรมาธิการร่วมฯ จะหารือกันคือการแก้ไขเนื้อหาเฉพาะส่วนที่กรรมาธิการวุฒิสภามีการแก้ไขมา เท่านั้น เช่น จำนวนกรรมการที่ทำหน้าที่กำกับดูแล องค์ประกอบของกรรมการทั้งหมด การใช้คลื่นความถี่เพื่อความมั่นคง และเม็ดเงินจากส่วนแบ่งรายได้สัญญาสัมปทานที่จะเข้ากระทรวงการคลัง

เนื้อหาอื่นๆ ที่เป็นห่วงว่าจะไม่สามารถแก้ไขได้แล้ว เช่น คลื่นความถี่เปลี่ยนมือไม่ได้ ซึ่งอาจกระทบกับการให้บริการเอ็มวีเอ็นโอ การกำหนดให้จัดสรรคลื่นความถี่ด้วยวิธีการประมูล และการจัดทำแผนแม่บทคลื่นความถี่ ซึ่งทางออกหนึ่งคือเมื่อประกาศใช้เป็นกฎหมายแล้ว ก็เริ่มศึกษาเพื่อจัดทำร่างแก้ไขต่อไป