Thai / English

บ.จัดหางานฯร้อง ก.แรงงาน นายจ้างลิเบีย ผิดสัญญาลอยแพแรงงานไทย



26 .. 53
ผู้จัดการ

บริษัทจัดหางานยื่นขอความเป็นธรรม ก.แรงงาน หลังถูกแรงงานไทยร้องนายจ้างลิเบียทำผิดสัญญา-กินหัวคิว ลอยแพ ยันทุกอย่างถูกต้องตรวจสอบได้ ด้านที่ปรึกษา รมว.แรงงาน เตรียมตั้ง กก.สอบข้อเท็จจริงด่วน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 13.00 น.ที่รัฐสภา นายจักรกฤษณ์ สุวรรณสาร ผู้บริหารบริษัทจัดหางานเงินและทองพัฒนา จำกัด ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.แรงงาน และสวัสดิการสังคม โดยผ่าน นายนายสุธรรม นทีทอง ที่ปรึกษา รมว.เพื่อชี้แจงกรณีที่ นายสนมศักดิ์ เพชรสังหาร แรงงานไทย ได้ร้องเรียนถึงปัญหาที่บริษัทจัดหางาน เงินและทอง พัฒนาจำกัด ซึ่งเป็นผู้จัดหาแรงงานให้ไปทำงานกับนายจ้าง arsel-bena wa tasheed joint venture ที่ประเทศลิเบีย ซึ่งระบุว่า นายจ้างได้กระทำผิดสัญญาว่าจ้าง โดยมีการจ่ายเงินเดือนและค่าทำงานล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้างไม่ครบตามสัญญา ไม่จัดสรรสวัสดิการด้านที่พักอาศัยอาหาร ทำให้ลูกจ้างได้รับความอยากลำบากมีการเรียกเก็บหัวคิวเพื่อให้ได้ไปทำงานที่ประเทศลิเบีย ซึ่งถือเป็นการทำผิดระเบียบของกรมจัดหางาน และมีการหลอกลวงและลอยแพคนงาน

โดย นายจักรกฤษณ์ ชี้แจงว่า ปัญหาเหล่านี้ได้มีการตรวจสอบจากทางเอกอัครราชทูต ณ กรุงติโปรลี โดยเอกอัครราชทูต และเจ้าหน้าที่กงสุล มีผลสรุปชัดเจนแล้วว่าปัญหาที่เกิดจากการจ่ายเงินล่าช้า เพราะสภาพคล่องจากการที่รัฐบาลลิเบียติดค้างเงินแก่นายจ้างไม่ใช่นายจ้างเบี้ยวเงินอย่างที่กล่าวอ้าง และแรงงานทุกคนก็ได้รับค่าจ้างเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อีกทั้งคนงานส่วนใหญ่ยังสมัครใจทำงานต่อ และขอยืนยันว่า ทางบริษัทไม่ได้ผิดข้อตกลงในการส่งคนงานไปทำงาน เพราะทั้งหมดที่ไปทำงานกับนายจางดังกล่าว ได้ทำงานจนครบกำหนดตามสัญญาว่าจ้างทุกคน ไม่ใช่เป็นเรื่องถูกลอยแพตามข่าว และบริษัทได้รับแจ้งจากนายจ้างว่าแรงงานเหล่านี้ได้รับเงินครบถ้วนทุกคน โดยมีหลักฐานการรับเงินที่ตรวจสอบได้ ส่วนแรงงานไทยที่เดินทางกลับมาเมืองไทยเป็นการกลับมา เพราะครบกำหนดสัญญาว่าจ้างแล้ว และได้รับตั๋วเครื่องบินจากนายจ้างให้เดินทางกลับตามสัญญา ส่วนเรื่องค่าล่วงเวลานั้น เนื่องจาก ช่วงเวลาของประเทศลิเบียต่างกับประเทศไทยคือจะเป็นช่วงกลางวัน 14 ชั่วโมงแ ละกลางคืน 10 ชั่วโมง จึงอาจทำให้เกิดความเข้าผิดในการคิดคำนวณค่าล่วงเวลา ซึ่งปัญหาดังกล่าวทางอธิบกรมการจัดหางานก็รับทราบดี

“บริษัทไม่รู้จัก นายสนมศักดิ์ และไม่เคยจัดส่งบุคคลนี้ไปทำงานับนายจ้างที่ลิเบีย และการส่งแรงงานไทยไปลิเบียของบริษัทไม่ได้เป็นการส่งไปทำงานกับนายจ้างดังกล่าวเพียงรายเดียว และเรายังได้รับความเชื่อถืออย่างสูงจากรัฐบาลลิเบีย และบริษัทเอกชนจำนวนมาก เพื่อให้จัดหาแรงงานไทยไปทำงานที่ลิเบีย ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหานายจ้างเพียงรายเดียวเท่านั้น ขอยืนยันว่าเราไม่เคยหลอกลวงว่าในการจ้างงาน ที่ผ่านมาบริษัทก็ไม่เคยนิ่งนอนใจ และเข้าไปช่วยเหลือแรงงานไทยตลอด อีกทั้ง หน่วยงานราชการของไทยได้เข้าไปตรวจสอบสภาพความเป็นอยู่ของแรงงานไทยก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด และเราพร้อมที่จะให้เข้ามาตรวจสอบ ส่วนเรื่องเรียกค่าหัวคิวเราได้จัดเก็บค่าบริหารตามระเบียบของกรมจัดหางานและสามารถตรวจสอบได้” นายจักรกฤษณ์ กล่าว

ด้าน นายสุธรรม กล่าวว่า ปัญหาเรื่องการหลอกลวงแรงงานไทย ถือเป็นเรื่องที่ รมว.แรงงานให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมหลายครั้งเพื่อให้บริษัทจัดหางานให้ความเป็นธรรมกับการจัดส่งแรงงานไปต่างประเทศ โดยการเรียกบริษัทจัดหางานประชุมและเชิญนายกฯลงสัตยาบันร่วมกันว่าจะจัดส่งแรงงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย ขณะเดียวทางกระทรวงแรงงานฯจะมีนโยบายให้บริษัทนายจ้างลดค่าแรงงานที่เคยจัดเก็บคนงานในราคาแพง อย่างน้อยหัวละ 15,000 บาท ทั้งนี้ ได้มีการสั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดหาเงินกู้ให้กับแรงงานไทยโดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน ทั้งนี้ รมว.แรงงาน จะให้ความสำคัญและดูแลเรื่องนี้อย่างถึงที่สุด โดยทางกระทรวงไม่ได้นิ่งนอนใจ และจะเร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าเป็นอย่างไร

“เรื่องดังกล่าวต้องแยกออกเป็น 2 กรณี คือ ถ้าผิดตามกฎหมายอาญาก็ต้องดำเนินการลงโทษอย่างจริงจัง และต้องถูกเพิกถอนใบอนุญาตจัดหางาน แต่ถ้ามีความผิดในทางแพ่งคู่กรณีต้องฟ้องกันเอง ดังนั้น ถ้าตรวจสอบแล้วพบว่ามีการกลั่นแกล้งกันโดยไม่อยู่บนข้อเท็จจริง แต่มีผลประโยชน์แอบแฝงต้องคงต้องมีมาตรการลงโทษที่ชัดเจน ซึ่งผมจะรีบเสนอเรื่องนี้ต่อรมว.แรงงานว่าที่ปรึกษาแรงงานไทยที่ประจำอยู่ในประเทศแถบแอฟริกาเหนือให้ตรวจสอบก่อนว่ามีลูกจ้างเดือดร้อนจริงหรือไม่ นอกจากนี้ ถ้าตรวจสอบพบข้อเท็จจริงได้ไม่ชัดเจนก็จะตั้งคณะกรรมการทำงานขึ้นมาตรวจสอบเรื่องดังกล่าวโดยเฉพาะ ซึ่งตนอาจเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการเพื่อพิจารณาด้วยโดยจะเรียนเชิญ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ร่วมรับฟังปัญหาด้วย”