Thai / English

สหภาพแรงงานโวย นายจ้างอ้างวิกฤตเศรษฐกิจปลดคนงาน



17 .. 51
ประชาไท

เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 51 ที่ผ่านมาที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการจัดเสวนาเรื่อง “การเลิกจ้างมีต้นเหตุมาจากวิกฤติเศรษฐกิจจริงหรือ? ยุทธศาสตร์และบทบาทของขบวนการแรงงาน” โดยในช่วงบ่าย ได้มีการเสวนาในหัวข้อ “การเลิกจ้างมีต้นเหตุมาจากวิกฤตเศรษฐกิจจริงหรือ” โดยเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากตัวแทนของสหภาพแรงงานต่างๆ

สมศรี วิทย์เวทย์ เลขาธิการสหภาพแรงงานอัลมอนด์ กล่าวถึงปัญหาของสมาชิกปัจจุบันของสหภาพแรงงานอัลมอนด์ ซึ่งจากเดิมประมาณ 120 คน ตอนนี้เหลืออยู่เพียง 42 คน โดยปัญหาที่ผ่านมาก็คือ สหภาพฯ กับนายจ้างไปด้วยกันไม่ได้ เพราะตั้งแต่มีการตั้งสหภาพแรงงานมานั้น ก็มีปัญหาการฟ้องร้องในคดีต่างๆ ขณะนี้ประธานสหภาพแรงงานเองก็กำลังโดนบริษัทฯ ขออำนาจศาลเลิกจ้างอยู่ โดยศาลได้นัดพิจารณาคดีในวันที่ 15 ธ.ค. 51 นี้

เมื่อประมาณปี 2550 สหภาพฯ ได้ยื่นข้อเรียกร้อง จากนั้นก็เกิดการพิพาทแรงงานและนายจ้างได้ปิดงานไป 33 วัน พอมาในปี 2551 นาย จ้างกลับยื่นข้อเรียกร้องเพื่อลดสวัสดิการของแรงงาน ซึ่งทั้งๆ ที่เป็นการยื่นของนายจ้าง ทางนายจ้างก็ยังมีการปิดงานโดยมีการปิดงาน 11 วัน

จาก นั้นในเดือนกันยายนที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้เรียกคณะกรรมการลูกจ้างให้ไปคุย โดยได้อ้างปัญหาเศรษฐกิจว่าบริษัทไม่สามารถจะกู้เงินจากสถาบันการเงินได้ และได้ขอความร่วมมือให้พนักงานหยุดงาน ซึ่งนายจ้างไม่ได้ใช้ มาตรา 75 แต่เป็นการขอความร่วมมือพนักงาน และบอกว่าให้พนักงานหยุดงานแล้วบริษัทฯ จะจ่ายค่าแรงให้ 50% ซึ่ง ทางสหภาพแรงงานก็ได้ตอบไปว่าถ้าหากเป็นปัญหาของบริษัทฯ จริงๆ ก็ขอให้มีการคุยกัน ให้มีการช่วยเหลือกัน ทั้งนี้บริษัทฯ เองก็ยังยืนยันที่จะจ่ายให้ 50% ซึ่งพนักงานมีทั้ง ฝ่ายที่ยอมรับเงื่อนและไม่ยอมรับเงื่อนไขนี้ โดยฝ่ายที่ไม่ยอมรับเงื่อนไขนี้มองว่านายจ้างทำไม่ถูกต้องและไม่ได้ให้ความ ร่วมมือ

มา ถึงในเดือนพฤศจิกายนทางบริษัทได้มีโครงการให้พนักงานได้ลงชื่อขอเลิกจ้างและ รับเงินชดเชยด้วยความสมัครใจ ซึ่งพนักงานที่มีความประสงค์ที่จะไม่ทำงานต่อได้ไปลงชื่อไว้ จากนั้นบริษัทฯ ก็ได้มีการคัดคนออก ซึ่งเป็นที่น่าสงสัยว่าบริษัทมีหลักเกณฑ์อย่างไรในการคัดคนออก ไม่มีการแจ้งหลักเกณฑ์นี้ให้พนักงานทราบ ทั้งนี้มีสมาชิกของสหภาพแรงงานเองไปลงชื่อประมาณ 15 – 16 คน

ในวันที่ 15 พ.ย. 51 นาย จ้างได้เรียกกรรมการและประธานสหภาพให้เข้าไปทำงานเข้าไปคุย และได้เรียกพนักงานที่จะถูกเลิกจ้างไปรวมกันที่โรงอาหารซึ่งพนักงานซึ่งจะมี พนักงานที่ถูกเลิกจ้างถึงเกือบ 80 คน

โดยสรุปแล้วการเลิกจ้างครั้งนี้ พนักงานสมาชิกสหภาพแรงงานที่ถูกบริษัทเลิกจ้างครั้งนี้ที 77 คน โดยสมัครใจลาออก 16 คน แต่ได้ออกเพียง 11 คน ส่วนสมาชิกที่ไม่สมัครใจกลับถูกเลิกจ้าง 66 คน ส่วนพนักงานที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานถูกเลิกจ้างประมาณ 50 คน สมัครใจลาออกและได้ออกเพียง 12 คน และลงชื่อไว้แต่กลับไม่ให้ออกจากงานมีประมาณ 70 คน

ทั้งนี้สหภาพแรงงานมองว่าบริษัทฯ เลิกจ้างก่อนที่จะมีการจ่ายโบนัสที่จะมีในวันที่ 25 ธ.ค. ซึ่งถือว่าบริษัทฯ ตั้งใจหลบเลี่ยงที่จะจ่ายโบนัสให้กับพนักงานที่ถูกเลิกจ้าง ซึ่งในการเลิกจ้างครั้งนี้บริษัทฯ ได้แจ้งกับแรงงานเขตว่าคนล้นงาน ต้องลดพนักงานทั้งหมดเป็นจำนวน 135 คน โดยลดไปแล้ว 129 คน ยังเหลืออีก 6 คนซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างที่มาจากส่วนของสหภาพแรงงาน

เมื่อวันที่ 12 – 13 ที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้ขอใช้มาตรา 75 เพื่อ ปิดงาน แต่ปิดแผนกเดียว ซึ่งเป็นแผนกที่เกิดมีงานเข้ามา แต่บริษัทกลับไปเรียกพนักงานแผนกอื่นที่ทำงานแทนกันได้เข้ามาทำแทนและให้โอ ที

บริษัทขอเลิกจ้างกรรมการลูกจ้าง 6 คน ด้วยเหตุผลคนล้นงาน ทั้งๆ ที่มีคนสมัครใจไปลงชื่อขอเลิกจ้างไว้หลายสิบคน แต่บริษัทเลือกเจาะจงที่กรรมการลูกจ้าง รวมทั้งดูเหมือนว่าบริษัทฯ ยังคงดำเนินกิจการได้ แต่กลับไม่ให้พนักงานประจำทำ ผลักงานออกไปให้ แรงงานจ้างเหมาช่วง ทำแทน

วาสนา คงหินตั้ง ผู้แทนจากสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ กล่าว ว่าบริษัทไทรอัมพ์ เป็นทุนข้ามชาติซึ่งแตกต่างกับการต่อสู้กับทุนชาติ ซึ่งทุนข้ามชาติมักเอารัดเอาเปรียบมากกว่าทุนชาติ เช่น การกดขี่จากอัตราเงินเมื่อเทียบกับค่าแรงในประเทศพัฒนา นอกจากนี้ทุนข้ามชาติยังย้ายไปในที่ที่ค่าแรงถูก

ทั้ง นี้จะมีแรงงานตกงานหลายล้านคนในปีหน้า ทั้งนี้กรรมกรจะต้องมีการรวมกลุ่มกัน กรรมกรจะต้องมีพรรคเป็นของตนเอง พรรคที่ปกป้องผลประโยชน์ให้กรรมกร แต่เมื่อพูดถึงเรื่องพรรคการเมือง ตั้งแต่ปี 2475 เรา จะพบได้ว่าพรรคการเมืองที่อยู่รอดมานานที่สุดคือพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคที่ถูกก่อตั้งโดยพวกที่รับใช้ชนชั้นสูง ส่วนการเมืองในปัจจุบันนี้ ทั้งฝ่ายพันธมิตรฯ และ นปก. นั้นมีทุนนิยมอยู่เบื้องหลังทั้งสองกลุ่ม ซึ่งเป็นปฏิปักษ์กับกรรมกร

ทั้ง นี้วาสนาได้เสนอแนวทางสำหรับแรงงานในภาวะวิกฤตนี้ว่า อยากให้มีการจัดตั้งสภาคนตกงานต้องมีการรวมตัวของสหภาพแรงงานก่อน แล้วรวมตัวกันเพื่อยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐ โดยมีข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลคือ โรงงานไหนยุบหรือเลิกให้รัฐเข้าไปจัดการบริหารได้, รัฐบาลต้องทุ่มงบประมาณสร้างงานให้ประชาชน, เงินประกันสังคมให้นายจ้างออกแต่เพียงผู้เดียว, ให้เก็บภาษีอัตราก้าวหน้า โดยเริ่มจากคนที่รวยที่สุดมาก่อน และเงินที่จัดซื้ออาวุธต้องลดลง ลดกำลังทหารลง เพื่อนำเงินส่วนนี้มาใช้ประโยชน์ในส่วนอื่นๆ ที่จำเป็นกว่าแทน

คุณสุริยา โพธิชัยเลิศ ผู้แทนจากสหภาพแรงงาน GM กล่าว ว่ามีการปล่อยข่าวถึงการเลิกจ้างพนักงาน ซึ่งยังเป็นเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้นแต่กลับส่งไปให้สื่อมวลชนประโคมข่าว ซึ่งทางสหภาพแรงงานพูดกับผู้บริหารว่าข่าวแบบนี้ไม่น่าที่จะหลุดออกไปได้ เพราะแม้แต่พนักงานเองก็ยังไม่ทราบข่าวนี้กัน

ทั้ง นี้ทางสหภาพแรงงาน ได้มีการยื่นข้อเรียกร้องในช่วงเดือนตุลาคม และมีการพูดคุยกัน ซึ่งขณะนั้นเริ่มมีกระแสข่าวเรื่องวิกฤตเศรษฐกิจของอเมริกาเข้ามา

ทั้ง นี้มีการปล่อยข่าวว่าจะมีการเลิกจ้างพนักงานระดับปฏิบัติการในไลน์และหัว หน้างานในไลน์ปฏิบัติการ ซึ่งสหภาพแรงงานมองว่าเป็นการจัดการที่ไม่ถูกจุด เพราะทั่วไปหลักสากลเขาจะต้องตัดหัวลงมาเรื่อยๆ ผู้บริหารระดับสูงต้องแสดงสปิริตลงมา ไม่ใช่มาเลิกจ้างพนักงานฐานล่าง จากนั้นบริษัทได้มีการประกาศอาสาสมัครเลิกจ้างโดยมีเงินชดเชยพิเศษให้สอง เดือน ซึ่งมีคนไปสมัครร้อยกว่าคน

จากนั้นมีการเจรจามาเรื่อยๆ จนถึงการเจรจาในครั้งที่ 3 นายจ้างได้ยื่นข้อเรียกร้องแก่สหภาพแรงงาน โดยขอไม่ให้มีการเพิ่มสวัสดิการ ให้สวัสดิการคงที่ 2 ปี จากนั้นการเจรจาครั้งที่ 4 บริษัทไม่ยอมเจรจากับสหภาพ ทำให้เกิดข้อพิพาทแรงงาน

ขณะ นี้บริษัทได้ใช้วิธีการให้พนักงานส่วนหนึ่งเข้าไปอยู่ส่วนกลาง โดยบริษัทต้องการให้พนักงานลงลายเซ็น แต่ทางสหภาพแรงงานไม่เห็นด้วยเพราะในส่วนกลางยังไม่มีงานรองรับ ซึ่งอาจจะย้ายไปหนึ่งเดือนแล้วถูกเลิกจ้าง

สุริยา ได้กล่าวว่าในการประชุมของบริษัทครั้งหนึ่ง เขาถามประธานบริษัทว่าเมื่อมีวิกฤตแต่ทำไมถึงต้องเอาพนักงานฐานล่างออก เอาพนักงานเงินเดือนแค่ 7,000 – 8,000 บาทออก ออกไปเผชิญชะตากรรมข้างนอก ไปตายเอาดาบหน้า แล้วฝ่ายข้างบนล่ะคุณมากินข้าวฟรี เงินเดือนสองสามแสน ไม่ได้ทำอะไรเลย ไม่มีสปิริตไม่มีการแสดงความรับผิดชอบ

ทั้ง นี้สุริยากล่าวว่าการต่อสู้กับบริษัทต้องใช้พลังมวลชน อยากให้มีวันหนึ่งคือวันกรรมกรไทยตกงานมารวมตัวกัน เมื่อมารวมตัวกันแล้วจะมีการกดดันรัฐบาล

บุญยืน สุขใหม่ เลขาธิการสหภาพแรงงานภาคตะวันออก สื่อ มีการเสนอข่าวเลิกจ้างทั้งๆ ปูทางมาตั้งแต่ช่วงเริ่มไตรมาสสุดท้ายของปี ที่ยังไม่มีการเลิกจ้าง ทำให้ดูน่ากลัว แต่กลับไปกระทบกับวิถีชีวิตของแรงงาน ทำให้บริษัทต่างๆ ลอกเลียนแบบกัน ซึ่งสื่อจะต้องยึดมั่นจรรยาบรรณมากกว่านี้ในการเสนอข่าวเกี่ยวกับแรงงาน ควรนำเสนออย่างตรงไปตรงมา ไม่ใช่วิเคราะห์ข่าวจนเกินกว่าเหตุ

รวม ถึงกฎหมายไทยที่มีความแปลกที่สามารถให้นายจ้างยื่นข้อเรียกร้องสวนได้ พอมีปัญหาเรื่องวิกฤตเศรษฐกิจนายจ้างก็ยื่นข้อเรียกร้องสวน ซึ่งปกติสวัสดิการของแรงงานก็ต่ำอยู่แล้วแต่นายจ้างกลับยื่นข้อเรียกร้องมา ลดสวัสดิการอีก

ใน ส่วนของแรงงานเหมาค่าแรง ปัจจุบันมีการหลบเลี่ยงการจ่ายค่าชดเชย โดยการส่งกลับไปยังบริษัทเหมาค่าแรงแล้วบริษัทเหมาค่าแรงจะไม่มีงานให้ หรือส่งไปในที่ที่ทำงานไม่ได้ ทำให้แรงงานต้องออกเอง โดยไม่ได้ค่าชดเชยจากนายจ้าง

0 0 0

จากนั้นได้มีการเปิดเวทีเสวนาเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนในประเด็นต่างๆ โดยผู้เข้าร่วมเสวนาได้อภิปรายในประเด็นต่างๆ ดังนี้..

นุ่มนวล ยัพราช โครงการณรงค์เพื่อแรงงานไทย ได้ ร่วมแลกเปลี่ยนว่าบทเรียนสำคัญของสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ก็คือการถูกจุดประเด็น และบิดเบือนประเด็นโดยฝ่ายเสื้อเหลืองซึ่งมีจุดยืนชาตินิยมฟาสซิสต์ ซึ่งขบวนการแรงงานจะต้องจดจำไว้เป็นบทเรียนในอนาคต

ใน ส่วนการจัดตั้งแรงงานที่ตกงานนั้นยังมีอุปสรรคอยู่ ซึ่งในวิกฤตเศรษฐกิจนี้ รัฐต้องลงมาโอบอุ้ม สิ่งที่นอกเหนือและเกี่ยวข้องกับแรงงาน คือ รัฐต้องอุดหนุนอาหารราคาถูก, การศึกษาของบุตรหลายแรงงาน เป็นต้น

ทั้งนี้การทำสหภาพให้เข้มแข็งโดยไม่มองเรื่องการเมืองภายในประเทศไม่ได้ การใช้มาตรา 75 ของ รัฐก็เป็นเรื่องของการเมือง และเราเลี่ยงเรื่องการเมืองไม่ได้ ทั้งนี้เราจะต้องมีข้อเรียกร้อง รัฐต้องทุ่มงบประมาณสร้างงาน เรื่องเงินประกันสังคมให้นายจ้างออกแต่เพียงผู้เดียว และประเทศไทยจะต้องเป็นประชาธิปไตย

ศรีไพร นนทรี กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง กล่าว ว่าในส่วนของรังสิตและย่านใกล้เคียงถูกเลิกจ้างมาก ทั้งในภาคอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนภาคยานยนต์ยังไม่ถูกเลิกจ้างมาก แต่คาดว่าปีหน้าคงมีมาก ส่วนในภาคสิ่งทอ หรือประดิษฐ์ตุ๊กตา และอุตสาหกรรมที่แข่งขันกับจีนนั้นนายจ้างโดนวิกฤตการเมืองกระทบจากการปิด สนามบินด้วย

ในประเด็นการเมืองนั้น ทางกลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง มอง ว่าประชาชนที่อยู่ฝั่งสีแดงยังมีความบริสุทธิ์ แต่สิ่งที่หน้ากลัวก็คือเรื่องของผู้นำที่เข้าไปมีอำนาจ ซึ่งสิ่งสำคัญของขบวนการแรงงานก็คืองานจัดตั้งฐานล่าง ถ้าเรากลับเข้าไปในโรงงานแล้วทำงานจัดกลุ่มศึกษากับแรงงานในโรงงานอย่างจริง จัง จะทำให้เรามีพลังและออกมาเคลื่อนไหว แต่ทั้งนี้ทุกวันนี้เรายังละเลยเรื่องการจัดตั้งแรงงานในฐานโรงงานของแต่ละ ที่

ทั้ง นี้กลุ่มย่านรังสิตมีการตั้งคณะทำงาน และพร้อมที่จะทำงานร่วมกับทุกกลุ่ม ซึ่งในความคิดส่วนตนคิดว่าการสัมมนาไม่ควรจบแค่นี้ เราควรคุยกันต่อว่าเราจะทำอะไรร่วมกันอีก เพื่อขับเคลื่อนประเด็นของแรงงานร่วมกันต่อไป

เทวฤทธิ์ มณีฉาย นักศึกษาปริญญาโท สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กล่าว ว่านายทุนมักมองวิกฤตเป็นโอกาส เช่นในวิกฤตินี้เป็นการตัดทอนกำลังของลูกจ้าง ในทางตรงกันข้ามแรงงานควรมองเป็นโอกาสเช่นเดียวกัน เช่น ควรร่วมมือกันขับเคลื่อน แต่ทั้งนี้ยังพบว่าปัจจุบันเรายังขาดความสมานฉันท์ ขาดแคลนทรัพยากรทั้งบุคคลและเงินทุนรวมถึงเรายังไม่มีพรรคการเมืองที่มุ่ง ยึดอำนาจรัฐ เพื่อจัดสรรทรัพยากร รวมถึงขาดการจัดตั้งภายในของขบวนการแรงงาน

อุปสรรค สำคัญคือรัฐบาล ต่อไปอย่างประชาธิปัตย์มีแนวทางที่จะใช้ระบบวินัยการคลังที่รัดกุม ซึ่งจะไม่เป็นผลดีต่อผู้ใช้แรงงาน รวมถึงเราเองก็ไม่สามารถไปคาดหวังกับนโยบายประชานิยมเดิมของพรรคไทยรักไทย ทั้งนี้ปัจจุบันความตื่นตัวทางการเมืองปัจจุบันมีสูงมาก แต่ขบวนการแรงงานยังไม่มีอิสระ ยังเป็นกบเลือกนาย ทั้งนี้เราต้องออกมาเคลื่อนไหวอย่างเป็นเอกเทศ

วิทยา อินวัน จากสหพันธ์แรงงาน กระดาษและการพิมพ์ แห่งประเทศไทย กล่าว ว่าการรวมตัวของแรงงานยังรวมตัวกันหลวมๆ มักจะมีการเคลื่อนไหวเมื่อเกิดปัญหา แต่ในยามปกติมักจะไม่มีการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเท่าที่ควร ซึ่งเป็นผลเสียต่อขบวนการแรงงาน

ส่วน เรื่องการเมืองนั้น วิทยามองว่าถ้าสหภาพแรงงานแข็งแกร่งแล้ว ไม่ว่าการเมืองจะอยู่ด้านไหน ฟากไหนมีอำนาจ การต่อสู้ของขบวนการแรงงานก็จะไม่ได้รับผลกระทบ ส่วนพรรคแรงงานนั้นมีการพูดกันนั้นในรูปธรรมปัจจุบัน อยากตั้งคำถามว่าใครจะเป็นคนเริ่ม ส่วนประเด็นการเข้าไปบริหารกิจการเอกชนโดยรัฐนั้น วิทยาเห็นด้วยกับการให้รัฐเข้าไปถือหุ้นในบริษัทที่จะล้มละลาย แต่ต้องมีการลงลึกในรายละเอียดว่าขั้นตอนจะเป็นอย่างไร

คำยอง คำพิทูรย์จากสหภาพแรงงานประชาธิปไตย กล่าว ว่าการจ้างแรงงานที่หลากหลายของนายทุน มักจะฉวยโอกาสในช่วงเศรษฐกิจไม่ดีในการเลิกจ้าง โดยเฉพาะแรงงานเหมาค่าแรง ทั้งๆ ที่แรงงานเหมาค่าแรงเป็นส่วนที่ช่วยลดต้นทุนให้กับนายทุนเศรษฐกิจจะดีหรือ ไม่ดี นายทุนมักจะฉวยโอกาสเสมอ แต่ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจแรงงานเกิดปัญหาหนักกว่ามาก ทั้งนี้สังคมมักไม่มองปัญหาของแรงงาน แต่มักจะมองไปที่ว่านายทุนจะล้มหรือไม่ล้มมากกว่า

ทศพร คุ้มตะโก ประธานสหภาพแรงงานกลุ่มภาคตะวันออก กล่าว ว่าทั้งนี้มันมีวิกฤตจริงๆ และการฉวยโอกาสของนายทุน ปัญหาของแรงงานนั้นนอกจากจะขึ้นอยู่กับผู้นำแรงงานแล้ว ก็ยังขึ้นอยู่กับตัวแรงงานเองอีกด้วย โดยผู้ใช้แรงงานในสถานประกอบการจะต้องทำความเข้าใจกับองค์กรของเรา คือสหภาพแรงงานว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง

ทศพร กล่าวว่าทำไมพวกเรายังรวมตัวกันไม่ติด ก็เพราะว่าต่างคนต่างคิด ต่างมีความเก่งกล้าเป็นของตนเอง ทั้งนี้จะต้องลดความเก่งความกล้าส่วนตนเพื่อมารวมตัวกันบ้าง โดยจะต้องจัดตั้งสหภาพแรงงานให้มีความมั่นคงถาวร ไม่ใช่จัดตั้งสหภาพแรงงานขึ้นมาเพื่อถูกเลิกจ้าง ซึ่งเราต้องเคารพกฎหมาย ส่วนการตั้งพรรคการเมืองนั้นเรามีความพร้อมกันมากแค่ไหน ทั้งนี้เรามีนักวิชาการ อาจารย์ต่างๆ คอยสนับสนุน โดยจะต้องมีการถ่ายทอดองค์ความรู้

เจษฎา โชติกิจภิวาทย์ จากกลุ่มประชาธิปไตยเพื่อรัฐสวัสดิการ กล่าว ว่าข้อเสนอที่เราเสนอวันนี้จะต้องลงรายละเอียดให้มากกว่านี้ ต้องมีระยะสั้นระยะยาว เช่น เรื่องภาษีก้าวหน้า การลดขนาดกองทัพ อาจจะต้องเป็นเรื่องระยะยาว ในมิติการเมือง การวิจารณ์ พรรค ปชป. หรือกระบวนการศาลจะต้องมีการวิพากษ์วิจารณ์ต่อไป

ถ้า ประเมินส่วนตัว เรายังคงมีเงื่อนไขเรื่องระยะเวลา แต่เราต้องมีกิจกรรมร่วมกันต่อไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เรื่องงานจัดตั้งเราไม่ควรปฏิเสธคนตกงาน แต่เราต้องหาวิธีการเคลื่อนไหวรณรงค์ให้กับแรงงานทุกภาคส่วน ในส่วนของการยึดโรงงาน ต้องมีการทำความเข้าใจในหลายเรื่องๆ มีการเตรียมความพร้อม รวมถึงการหาแนวร่วมกับภาคประชาชนกลุ่มอื่นๆ