Thai / English

ปัญหาสุขภาพของแรงงานไทยในบรูไน



26 .. 51
ประชาไท

บันดา เสรี เบกาวัน – เมื่อวันที่ 20 - 25 มี.ค. 2551 ที่ผ่านมา ทีมแพทย์จากไทยได้ไปพบปะและให้บริการด้านสุขภาพแก่แรงงานไทยในบรูไน พบปัญหาเครียดจากการทำงานหนัก รวมถึงไม่ได้ดูแลสุขภาพตนเอง เนื่องจากค่ารักษาพยาบาลในประเทศบรูไนมีราคาสูงมาก

นายทรงศักดิ์ ตันตะโยธิน ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ได้เป็นหัวหน้าคณะในการเดินทางไปเยี่ยมและให้บริการตรวจสุขภาพให้แก่แรงงานไทยในบรูไน ที่สถานเอกอัครราชทูต สถานประกอบการ และชุมชนต่างๆที่มีแรงงานทำงานและพักอาศัยอยู่ มีแรงงานไทย

ปัจจุบันมีแรงงานไทยทำงานอยู่ในบรูไนประมาณ 9,500 คน โดย 60% ทำงานอยู่ในภาคก่อสร้าง นอกจากนี้แรงงานไทยยังอยู่ในอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าและอุตสาหกรรมภาคบริการของบรูไนอีกด้วย

ทั้งนี้พบว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจำนวนแรงงานไทยในบรูไนได้ลดจำนวนลงจากเมื่อก่อนที่มีแรงงานไทยในบรูไนหลักหมื่นกว่าคน แต่เนื่องจากการสิ้นสุดของ Multi Fiber Agreement ในปี ค.ศ. 2004 ซึ่งมีผลให้ระบบโควต้าในการส่งสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป สิ้นสุดลง ส่งผลให้อุตสาหกรรมนี้ซบเซาลงไปเนื่องจากไม่จำเป็นต้องอาศัยโควต้าของประเทศบรูไน ซึ่งจะส่งผลให้การจ้างแรงงานในอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าของบรูไน ซึ่งใช้แรงงานต่างชาติเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งแรงงานไทยด้วย

โดยคณะแพทย์ของไทยได้เปิดเผยถึงปัญหาสุขภาพของแรงงานไทยในบรูไนว่า ความไม่คุ้นชินกับสภาพอากาศ การทำงานหนัก และการที่ต้องจากครอบครัวมาแสนไกล ทำให้แรงงานไทยมีปัญหาอาการเจ็บป่วยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงการที่ไม่ได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ

นอกจากนี้แรงงานไทยจำนวนมากมีปัญหาที่ผิวหนัง เนื่องจากต้องทำงานกับปูนซีเมนต์ ซึ่งแรงงานไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้สนใจกับการรักษาพยาบาล เนื่องจากค่ารักษาพยาบาลในประเทศบรูไนมีราคาที่สูง รวมถึงแรงงานไทยมีปัญหาในการใช้ภาษา

ทั้งนี้ทีมแพทย์ของไทยจะให้บริการวันละ 12 ชม. ในระหว่างวันที่ 20 - 25 มี.ค. 2551 โดยคาดว่าจะสามารถให้บริการด้านสุขภาพแก่แรงงานไทยฟรี กว่า 1,000 คน

แต่เมื่อวันที่ 23 มี.ค. ที่ผ่านมา นักข่าวจาก The Brunei Times ได้ไปยังสถานทูตไทยแต่กลับพบกับเต้นท์ที่เตรียมไว้สำหรับการตรวจเช็คสุขภาพให้แก่แรงงานไทยฟรี มีแต่ความว่างเปล่า ซึ่งเจ้าหน้าที่สถานทูตไทยก็ไม่สามารถให้ความเห็นเกี่ยวกับกรณีนี้ได้