Thai / English

แรงงาน เจรจา 261 รพ.เอกชนลงตัวซบกองทุนเงินทดแทนต่อ



01 .. 50
กรุงเทพธุรกิจ

กระทรวงแรงงาน เจรจาโรงพยาบาลเอกชน รพ.เอกชน 261 แห่งลงตัว กลับลำซบกองทุนเงินทดแทน สปส.เตรียมเพิ่มค่า รักษาให้ “อภัย” ตั้ง คณะกรรมการแก้ปัญหานัดถก 8 ต.ค.นี้

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ได้มีการประชุมร่วมระหว่างผู้แทนกระทรวงแรงงานนำโดยนายอภัย จันทนจุลกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ผู้แทน สำนักงานประกันสังคม ผู้แทนคณะกรรมการการแพทย์ ผู้แทนโรงพยาบาล(รพ.)รัฐบาล- เอกชน ผู้แทนนายจ้าง และผู้แทนลูกจ้าง ประมาณ 100 คนเพื่อหารือถึงแนวทางในการดำเนินการดูแลให้บริการผู้ประกันตนในกองทุนเงินทดแทน หลังจากเกิดปัญหาระหว่างสปส. กับรพ.เอกชน เกี่ยวกับความล่าช้าในการจ่ายเงิน จนทำให้รพ.เอกชนขู่ที่จะเลิกเบิกเงินจาก กองทุนเงินทดแทนแต่จะเบิกจากนายจ้างแทน

นายอภัย กล่าวว่า ยอมรับว่า กระทรวงแรงงานมีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบอยู่แล้วคือ สปส.และ คณะกรรมการการแพทย์ ซึ่งในการดำเนินการอาจจะมีปัญหาเรื่องเทคนิคการดำเนินการ ทำงานไม่เต็มที่ อาจไม่มีการสื่อสารกันให้ลงตัวเลยเกิดปัญหาดังกล่าว เช่น รพ.กรณีเบิกเงินค่ารักษาได้ช้า เบิกมาแล้วมีการตัดทอนจากค่ารักษาเต็ม ค่ารักษาพยาบาลที่ รพ.หลาย แห่งออกค่ารักษาไปก่อนแล้ว ทำให้เกิดหนี้คงค้างกว่า 500 ล้านบาท เพราะแต่ละปีนั้นต้องรักษาผู้ป่วยถึง 200,000 ราย

“ยอมรับว่ามีปัญหาบ้างเพราะเราดูแลลูกจ้างถึง 9 ล้านคน มี รพ.เป็นคู่สัญญาทั้งรัฐและ เอกชน 1,132 แห่ง และเราก็ไม่ใช่หมอซึ่งบางครั้งอาจไม่รู้เรื่องอัตราค่าใช้จ่ายในรพ.มากนัก ทั้งเรื่อง ค่ายาและค่าหมอ จึงขอให้ผู้ที่รู้เรื่องโดยเฉพาะ รพ.เอกชนนั้นมาพูดคุย เสนอแนะและทำความตกลงกันให้รู้เรื่อง ส่วนจะปรับขึ้นให้หรือไม่นั้น คณะกรรมการการแพทย์ก็ จะพิจารณาตามความเป็นจริงอีกครั้งหนึ่ง”นายอภัย กล่าว

นายอภัย กล่าวว่าได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว 1 ชุด ประกอบด้วยตนเป็นประธาน มีตัวแทนจาก รพ.เอกชน สปส. คณะกรรมการการแพทย์ ลูกจ้าง นายจ้าง เป็นต้น เป็นคณะกรรมการและจะประชุมหารือเพื่อหาข้อสรุปในวันที่ 8 ตุลาคมนี้ โดยระหว่างนี้ขอให้ ผู้ประกันไม่ต้องกังกลขอให้ใช้บริการของ รพ.ได้ตามปกติ

นพ.พิพัฒน์ พงศ์รัตนามาน ประธานประสานงานกองทุนเงินทดแทน สมาคมโรงพยาบาลเอกชน กล่าวว่า ขอยืนยันว่า รพ.เอกชน 261 แห่งยังยินดีที่จะดูแลผู้ประกันตน อย่างดี เหมือนเดิมทุกประการไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น แต่อยากให้สปส.พิจารณาคือประเด็นสัญญาที่ ไม่เป็นธรรม ข้อตกลงที่เอาเปรียบคู่สัญญา เพราะมีการลิดรอนสิทธิต่างๆ เช่น ห้ามคิดค่า แพทย์เกิน 30% ห้ามคิดค่าห้องเกิน 700 บาท หรือ ไม่เกิน 20% ของค่ารักษาทั้งหมด และ ก้าวก่ายอำนาจดุลพินิจของผู้ประกอบโรคศิลปะและผู้ประกอบวิชาชีพ เช่น ไม่จ่ายค่าวิสัญญี แพทย์ ขัดแย้งกับจรรยาบรรณแพทย์ โดยการตีความระบุว่าเป็นการให้ยาและรักษาที่ไม่ เหมาะสม เป็นต้น

“รพ.ทุกแห่งต้องเพิ่มหน้าที่และรับภาระมากขึ้นกว่าเดิม แต่สิทธิลดลง เพราะมัวมานั่งเช็ค บัญชี ตามเอกสารผู้ป่วยไปเบิกเงิน บางทีเรียกแล้วก็ไม่มาชี้แจง หรือ ตามให้นายจ้างมาเซ็น ชื่อส่งตัว ก็ไม่ยอมเซ็นต์ ลายเซ็นผู้ป่วยผิด เป็นต้น เราก็เสียหาย สปส.ก็มาโทษว่าเป็นความ ผิดของรพ. ทั้งที่เราไม่ได้ทำอะไรผิด จึงอยากให้พิจารณาให้ลงตัวด้วย ขืนทำตามใจปล่อย เลยตามเลย แล้วมานั่งโทษอีกว่า รพ.เรื่องมาก อยากได้เงินอย่างเดียวมันไม่ใช่ ให้เข้าใจเราด้วย”นพ.พิพัฒน์ กล่าว

ด้าน นพ.วันชาติ ศุภจัตุรัส ประธานคณะกรรมการการแพทย์ สปส. กล่าวว่า เข้าใจว่า รพ. เอกชนดำเนินการในรูปแบบธุรกิจ ไม่เหมือน รพ.ของรัฐ และ สปส.ก็ดำเนินการภายใต้ กรอบของราชการ จึงติดขัดข้อกฎหมายบ้าง คณะกรรมการการแพทย์พยายามประสานให้ ลงตัวกับทุกฝ่าย โดยล่าสุดได้มีการเสนออัตราค่ารักษาพยาบาลในกองทุนเงินทดแทน โดย เพิ่มอัตราค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นเป็น 45,000 บาท จากเดิม 35,000 บาท กรณีเจ็บป่วย รุนแรงเรื้อรังเบิกได้ไม่เกิน 300,000 บาทจากเดิม 200,000 บาท โดยขณะนี้อยู่ในระหว่าง การพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาและคาดว่าจะสามารถประกาศใช้ได้ภายในปลาย ปี 2550 นี้