Thai / English

ลูกจ้างรวมพลบุกทำเนียบขอปรับค่าแรง233บาทต่อวัน



27 .. 50
กรุงเทพธุรกิจ

คนงาน รวมพลบุกทำเนียบ ยื่น ขอปรับค่าแรง 233 ต่อวัน ยกผลสำรวจรายจ่ายคนงานตกเดือนละ 13,740 บาท “อภัย” โยนบอร์ดชี้ขาด ด้านนายจ้างปัดไม่เอาด้วย อ้างต้นทุนสูง หวั่นซ้ำเติมทำโรงงานเจ๊งหนัก-เปิดช่องย้ายฐานผลิต

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ตัวแทนกลุ่มผู้ใช้แรงงานประมาณ 50 คน นำโดยน.ส. วิไลวรณณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) นายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ (สรส.) เดินทางมาชุมนุมบริเวณหน้า ทำเนียบรัฐบาล พร้อมแถลงการณ์ของ คสรท.เรื่อง “พัฒนาคุณภาพชีวิตและความมั่นคงของผู้ใช้แรงงาน” ยื่นถึง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เพื่อให้พิจารณาการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 233 เท่ากันทั่วประเทศ โดย นายสาวิทย์ กล่าวว่า ข้อเรียกร้องดัง กล่าวดำเนินการตั้งแต่ปี 2547 แต่ไม่มีความคืบหน้า ทำให้ผู้ใช้แรงงานตกอยู่ในสภาวะลำบาก ท่ามกลางเศรษฐกิจขาลง รัฐบาลควรสนับสนุนให้ผู้ใช้แรงงานมีรายได้สูงขึ้น เพื่อให้ เกิดการใช้สอยหมุนเวียนภายในประเทศ เศรษฐกิจจะเติบโตเองได้ โดยไม่ต้องหวังพึ่งการ ส่งออกเพียงอย่างเดียว

น.ส.วิไลวรรณ ประธาน คสรท.กล่าวว่า จากการสำรวจลูกจ้างพบว่าสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานอย่างมากค่าใช้จ่ายต่อวันไม่เพียงพอ ไหนจะ ต้องใช้เป็นค่ารถ ค่าอาหาร เครื่องดื่ม ยารักษาโรค วันละไม่ต่ำกว่า 268 บาท เฉลี่ยค่าใช้จ่ายรายเดือนค่าที่พัก ค่าไฟฟ้า ประปา เลี้ยงลูก ค่าเล่าเรียนลูกใช้มากถึงเดือนละ 7,800 บาท ซึ่งหากรวมทั้ง 2 ส่วนด้วยกัน ก็จะตกเดือนละ 13,740 บาท ทั้งที่ค่าจ้างขั้นต่ำใน กรุงเทพและปริมณฑลเพียงวันละ 191 บาทหรือ 5,730 บาท ทำให้ลูกจ้างเดือดร้อนมากแต่เบื้องต้นเราแค่ต้องการปรับให้ปรับเพียงแค่วันละ 233 บาทเท่านั้นเพราะเห็นว่าเป็นตัวเลข ที่สอดคล้องกับอัตราค่าครองชีพระดับหนึ่ง นอกจากนี้ คสรท.ยังเรียกร้องให้รัฐบาลตั้งคณะ กรรมการตรวจสอบการเลิกจ้างและปิดกิจการ ให้มีการตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงในการ ลงทุนจากนายจ้าง และ ให้แต่งตั้งคณะทำงานศึกษาและแก้ปัญหาด้านแรงงานอย่างเร่ง ด่วน

ในวันเดียวกัน กลุ่มผู้ใช้แรงงาน ตัวแทน คสรท.และ สรส.ก็ได้เดินทางมายื่นข้อเรียกร้องดัง กล่าวให้กับนายอภัย จันทนจุลกะ รมว.แรงงาน ซึ่งนายอภัย กล่าวว่า ได้สั่งการให้คณะ กรรมการค่าจ้างกลางเร่งพิจารณาสรุปตัวเลขค้าจ้างขั้นต่ำจากคณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดทั้ง 75 แห่งให้ทันภายในเดือน ก.ย.นี้ หลังจากนั้นจะนำเข้าพิจารณาของคณะ กรรมการค่าจ้างกลางให้ทันประกาศใช้วันที่ 1 ม.ค.50

ด้านนายสมพงษ์ นครศรี รองประธานอาวุโสด้านแรงงาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในฐานะคณะกรรมการค่าจ้างกลาง ฝ่ายนายจ้าง กล่าวว่า ด้วยสภาวะ เศรษฐกิจปัจจุบันนายจ้างได้รับผลกระทบส่งผลให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นจนแบกภาระไม่ไหว เลิก กิจการไปแล้วหลายโรงงาน และหากมีการปรับขึ้นค่าจ้างอีกในเวลานี้มันเหมือนเป็นการปิดประตูโรงงาน โดยเฉพาะโรงงานขนาดกลางและขนาดเล็ก จะส่งผลให้มีลูกจ้างตกลงเพิ่มอีกมาก อีกอย่างหนึ่งนายจ้าง นักลงทุนต่างประเทศนั้นจะถือโอกาสนี้ย้ายฐานการผลิตเนื่อง จากประเทศไกล้เคียงอย่างเช่น เวียดนามมีต้นทุนต่ำเพียงวันละ 60-70 บาท จึงเห็นว่าไม่ เหมาะสมที่จะปรับขึ้นค่าจ้างจำนวนมากถึง 233 ในเวลานี้ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้คณะอนุกรรม การค่าจ้างจังหวัดทุกจังหวัดได้ส่งตัวเลขปรับค่าจ้างขั้นต่ำประจำปี 2550 มาแล้ว ซึ่งหลาย จังหวัดที่ไม่ขอปรับขึ้น ทั้งนี้ยังรอการพิจารณาของบอร์ดค่าจ้างกลาง ชุดที่กำลังจะเห็นชอบ จาก ครม. แต่อย่างไรก็ตามคิดว่าไม่น่าจะทันเดือน ต.ค.นี้แน่นอน