Thai / English

ก.แรงงาน ลงเคลียร์ รง.การ์ดิเนีย จี้นายจ้างชดเชย


กรุงเทพธุรกิจ
27 .. 50
กรุงเทพธุรกิจ

ก.แรงงาน ลงเคลียร์ รง.การ์ดิเนีย จี้นายจ้างจ่ายชดเชยให้ลูกจ้าง 40 คนกว่าล้านบาท ไม่หวั่น รง.เจ๊ง สั่ง จนท.จับตา ทั่วปท. ปัดก.แรงงาน ปลายน้ำ โยน คลัง-อุตฯ-พาณิชย์ ออก มาตรการช่วยนายจ้าง

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นายผดุงศักดิ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยาอธิบดีกรม สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวถึงกรณีโรงงานการ์ดีเนีย ฟู้ด (แระเทศไทย)จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานผลิตสินค้าเบอเกอร์รี่ ขนมปัง ในจ.ปทุมธานีเลิกจ้างพนักงาน ว่า ได้รับรายงานจากสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานปทุมธานีว่าโรงงานการ์ดิเนีย มีพนักงานประมาณ 200 คน มีการบอกเลิกจ้างพนักงานเฉพาะฝ่ายขายประมาณ 40 คน ส่วนฝ่ายอื่นๆ ยังคงทำงานต่อไป โดยให้เหตุผลว่าเกิดปัญหาขายสินค้าไม่ได้ ไม่สามารถแข่งขันกับยี่ห้อใหญ่ เช่น พิชช่า เอสแอนด์พี ฟร์มเฮ้า เป็นต้นได้ ซึ่งจากที่จนท.กสร.เข้าไปเจรจาไกล่เกลี่ย

เบื้องต้น นายจ้างยินดีที่จะจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายและค่าชดเชยให้กับพนักงานที่เลิกจ้าง 40 คนเป็นเงินกว่า 1 ล้านบาท ส่วนอีก 160 คนส่วนใหญ่เป็นพนักงานฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดหา ยังคงทำงานต่อไปโดยนายจ้างขอใช้กฎหมาย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 75 คือลูกจ้างไม่ต้อง เข้ามาทำงานแต่ได้รับเงินค่าจ้าง 50% ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 25 ก.ค.ถึง15 ส.ค.นี้ ซึ่งหาก สถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น ก็ขึ้นอยู่กับนายจ้างว่าจะเลิกจ้างหรือจ้างทำงานต่อ

“วันนี้สวัสดิการฯจ.ปทุมธานีได้เรียกนายจ้าง ลูกจ้างเข้าไปทำการเจรจาเป็นที่ ตกลงกันเบื้องต้นได้แล้ว คงไม่มีปัญหาอะไรต้องรอดูอีกว่าหลังวันที่ 15 ส.ค.นั้นเหตุการณ์ จะเป็นอย่างไร แต่ผมก็ได้สั่งการให้ จทน.ลงพื้นที่ในโรงงานทุกวัน ซึ่งนอกจากโรงงานนี้ แล้วผมก็ได้สั่งการให้ จนท.ของทุกจังหวัดลงพื้นที่หาข้อมูล วี่แววการเกิดเหตุการณ์เลิกจ้าง ในสภาวะนี้ ถ้ามีแนวโน้มก็ให้ลงไปพูดคุยกับนายจ้าง ลูกจ้างได้เพื่อชะลอไว้ก่อนได้เลย แต่ หากไม่ไหวจริงก็ขอให้ยึดประโยชน์ลูกจ้าง จ่ายค่าจ้าง ค่าชดเชยให้ตามกฎหมาย ดังนั้นจึง ไม่กังวลกับการเลิกจ้างที่หลายคนมองว่าจะเจ๊งอีกเป็น 100 แห่ง”นายผดุงศักดิ์ กล่าว

นายผดุงศักดิ์ กล่าวด้วยว่า หน่วยงานกระทรวงแรงงาน เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในฝ่ายของแรงงาน นายจ้างลูกจ้าง ให้ความช่วยเหลือปลายน้ำ มาตรการต่างๆจึงไม่ใช่ เข้าไปบอกไม่ให้นายจ้างเลิกจ้างได้ กระทรวงอื่นๆที่รับผิดชอบด้านนี้โดยตรง เช่น คลัง อุตสาหกรรม พาณิชย์ เป็นต้น จะต้องมีมาตรการเพื่อให้บริษัทเหล่านี้อยู่รอด ทั้งนี้กระทรวง แรงงานก็ทำหน้าที่เต็มที่ โดยกรมการจัดหางานได้สำรองตำแหน่งงานกว่า 1 แสนตำแหน่ง รองรับ กรมสวัสดิการฯก็มีเงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง 230 ล้านบาทเพื่อช่วยเหลือลูกจ้าง ในยามจำเป็น สำนักงานประกันสังคม เตรียมจ่ายกรณีคนตกงาน 50% ของเงินเดือน 3 เดือน และ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน รับสมัครคนที่ตกงานเพื่อฝึกทักษะเข้าทำงานที่อื่นต่อ ไป